การบูรณาการงบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของไทย.

Authors

  • รัฐศิรินทร์ วังกานนท์
  • ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย

Keywords:

งบประมาณ, รายจ่ายของรัฐ, ประชาธิปไตย, การมีส่วนร่วมทางการเมือง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ 2) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการบูรณาการ การใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการบูรณาการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสารต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงบประมาณและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ชุมชนที่เข้าร่วมในกิจกรรม รวมทั้งผู้บริหารจากสำนักงบประมาณ ผลการวิจัยพบว่า งบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมีอยู่ในหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งจากหน่วยงานที่มีพันธกิจโดยตรงในการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและหน่วยงานอื่นที่ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจ อย่างไรก็ตาม การบูรณาการงบประมาณร่วมกันยังเป็นไปได้น้อยเนื่องด้วยข้อจำกัดของระเบียบปฏิบัติของทางราชการ ทัศนคติของหน่วยปฏิบัติ ความเข้าใจที่ต่างกันต่อประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม รวมถึงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่ทำให้หน่วยงานมุ่งแต่การปฏิบัติภารกิจเพื่อตอบสนองต่อตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการเป็นหลัก นอกจากนี้การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองส่วนใหญ่จะสอดแทรกอยู่ในระดับกิจกรรมของงบประมาณที่มีผลผลิตอื่น การบูรณาการจึงมีความเป็นไปได้มากกว่าหากจะบูรณาการกิจกรรมร่วมกันระหว่างหน่วยงาน แนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการงบประมาณการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเป็นไปได้สองทางคือ ในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ โดยส่วนกลางจะต้องมีเจ้าภาพหลักเพื่อทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงบประมาณแบบบูรณาการร่วมกัน เช่นเดียวกับยุทธศาสตร์บูรณาการในประเด็นปัญหาอื่น ๆ ในขณะที่ในระดับพื้นที่จำเป็นต้องสร้างกลไกการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานในพื้นที่The purposes of this study were to analyze budgets for enhancing participatory democracy of The Government Agencies in Thailand, to study the possibility of budget integration for enhancing participatory democracy among Thai Government Agencies, and to propose guidelines for budget integration among Thai Government Agencies. Thsi research is a qualitative research which gathering data by documentary analysis and in-depth interviews with key informants, from the government officials who are in charege of budgeting process and participatory enhancement.According to the study, it is found that the budget for enhancing participatory democracy are received by various government organizations, either agencies those in charge of the democratic participation mission or not. Anyway, the budget usually comes different program or project titles. The participatory democracy budgets are inserted as activities under the other projects. At present, there are many limitations in implementing budget integration for participatory democracy such as understandings and attitudes of the officials, the performance appraisal system of government agencies and the bureaucratic environment. Centralization is one of the main problems as the policy is top-down formulated. Therefore, it would  be easier to start integrated budgeting at the activity levels. However, it is necessary to have one agency to be the host for coordinating the participants from every agency that is in charge, both at the national and the area level.

Downloads