การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นไทย.

Authors

  • ณัฐชัย ชินอรรถพร

Keywords:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเลือกตั้ง, พฤติกรรมการเลือกตั้ง

Abstract

การศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นไทย มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยการศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้การศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการศึกษาวิจัยผลการศึกษาพบว่า 1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติมีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อย ๆ  และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ 50 ทั้งสิ้น ในขณะที่การไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่มีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้จะมีร้อยละการไปใช้สิทธิลดลงบ้าง แต่การไปใช้สิทธิส่วนใหญ่ประชาชนไปใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และ 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่มีความแตกต่างกัน โดยประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับชาติสูงกว่าระดับท้องถิ่นThe purposes of this teesis are as followed: 1) To study levels of political participatopn in voting turnout of Thailand's general and local elections and 2) To compare levels of political participation in voting turnout of Thailand's general and local elections. This study uses Quantitative Research as its methodology together with Secondary Data as an essential tool of this research.The study found that: 1) Political participation of Thailand's general election has been increasing continuously and since B.E. 2526, over 50 percent of Thai population exercise their right of election while the number of citizens their vote local election has also been rising consistently, even with a fall in percentage of participation. Still, the number of people going out ti the polls is over a half of all eligible voters in Thailand and 2) the difference of political participation between general and local elections is that the portion of people casting their vote general is higher than its local counterpart.

Downloads