การบริหารจัดการความพร้อมของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวต่อการบูรณาการความร่วมมือสู่ประชาคมอาเซียน.

Authors

  • บุญเสริฐ สานยาวงศ์
  • วัลลภ ศัพท์พันธุ์

Keywords:

มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว - - การบริหาร, ความร่วมมือทางการศึกษา, การบริหารงานบุคคล, บุคลากรทางการศึกษา

Abstract

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว จำนวน 315 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการความพร้อมของบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ต่อการบูรณาการความร่วมมือสู่ประชาคมอาเซียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก และด้านงบประมาณอยู่ในระดับน้อย และการเปรียบเทียบการบริหารจัดการความพร้อมด้านบุคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ที่มี อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งในการรับราชการ ระยะเวลาในการรับราชการ และคณะที่สังกัดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สภาพปัญหา และอุปสรรค พบว่า ด้านบุคลากรยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านงบประมาณยังไม่เพียงพอที่จะใช้ในการบริหารตามแผนการพัฒนาในการบริหารการศึกษา ด้านหลักสูตร ยังไใ่ใีโครงสร้างหลักสูตร และจำนวนหน่วยกิจให้มีความใกล้เคียงกับประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน ด้านอาคารสถานที่ยังไม่เพียงพอกับการจัดการเรียนการสอน และด้านการบริหารทั่วไปแต่ละคณะยังไม่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและยังไม่ได้ตระหนักถึงความสามัคคีและความมีมนุษยสัมพันธ์ของบุคลากรThis research studied 315 personnel of the National University of Laos utilizing Science software. The results indicated that administration of the readiness of personnel of the National University of Laos for the integration of cooperation with ASEAN was at n overall level of 'medium' When various factors were considered personnel was found to be of a high level and budget was at a low level, while comparison of the university personnel in terms of age educational level, postion, length of time employed at the university, and Faculty revealed no significant differences in opinions towards readiness for ASEAN integration, where those of different wages did when the level of statistical significance set at .05. Problems and obstacles to ASEAN integration were that personnel did not receive adequate ongiong development support; budgets for pursuing the educational development plan were not sufficient; there was curriculum plan and the  number of units studied were not congruent with other ASEAN member states; buildings were not adequate, safe or numerous enough to answer needs not well maintained for their purposes, and; general administration did not realize the importance and role unity and good human relations among personnel.

Downloads