สถานภาพของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย (ระหว่าง พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน).

Authors

  • อัมพร ธำรงลักษณ์

Keywords:

รัฐประศาสนศาสตร์. รัฐศาสตร์. การบริหารรัฐกิจ, ระบบการเรียนการสอน, การศึกษาขั้นอุดมศึกษา

Abstract

สภาวะความผันผวนทางการเมือง มรสุมทางเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนานในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาของไทย ทำให้เกิดคำถามต่อสถาบันทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศที่มีอยู่จำนวนมากพอสมควร ทั้งจากยกสถานะของวิทยาลัยครูขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏและการเกิดขึ้นของมหาวิทยาลัยเอกชนอีกจำนวนหนึ่ง ไม่สามารถผลิตผลงานวิจัยที่ให้ประโยชน์ทางนโยบายแก่รัฐบาล เนื่องมาจากงบประมาณการสนับสนุนงานวิจัยที่มีอยู่น้อย ประกอบกับการแยกการศึกษาวิจัยแบบต่างคนต่างทำคุณภาพผลงานวิจัยที่ได้จากการผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตในประเทศเป็นที่น่ากังขาถึง การขาดมาตรการในการควบคุมประกันคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง จึงจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเพื่อประเมินสถานภาพการเรียนการสอนทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ไทยที่ผ่านมา การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการศึกษาครอบคลุมทั้งสามสาขา ได้แก่ การเมืองการปกครองรัฐประศาสนศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ที่นำเสนอในที่นี่เฉพาะสาขารัฐประศาสนศาสตร์เท่านั้น โดยใช้กรอบแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ถึงบริบท (Context) สภาพแวดล้อมในประเทศทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และจากต่างประเทศตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละสาขา ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่  ปรัชญาและเนื้อหาหลักสูตรและการคัดเลือกผู้เรียน กระบวนการ (Process) ได้แก่ คุณสมบัติผู้สอน กระบวนการเรียนการสอน ตำรส เอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน และสุดท้าย ได้แก่ ผลผลิต (Product) ได้แก่ บัณฑิตได้งานตรงกับสาขาที่ได้เรียนมาจากการเก็บข้อมูลเอกสารหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยของรัฐ ราชภัฏและเอกชนที่จัดให้มีการเรียนการสอนในสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก การจัดประชุมกลุ่ม และ/ หรือสัมภาษณ์เชิงลึกจาก 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขา ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ผู้เรียนและผู้ใช้บัณฑิตจากส่วนราชการและเอกชน พบว่า ปัญหาอันเนื่องมาจากสภาวะกดดันจากกรอบมาตรฐาน ที่ไม่เที่ยง ขาดการควบคุมคุณภาพที่ตรงกับปัญหาที่แท้จริงการตลาดของการแก่งแย่งผู้เรียนด้วยการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง ผู้สอนมีคุณวุฒิ ไม่ตรงกับสาขาที่ทำการสอน มีโหลดการสอนจำนวนมาก มีเวลาทำการศึกษาวิจัยน้อย กระบวนการผลิตที่หย่อนคุณภาพเพื่อให้ได้ผู้เรียน/ ลูกค้า ให้การบริหารโครงการอยู่ต่อไปได้ การประเมินผลการเรียนขาดความเข้มงวด เหล่านี้ทำให้คุณภาพของผลผลิตของบัณฑิตตกต่ำลง คุณภาพการวิจัยไม่สามารถนำมาใช้งานได้ ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยเสนอว่าหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่รับผิดชอบสถาบันอุดมศึกษาเหล่านี้จะต้องมีมาตรฐานการควบคุมกำกับคุณภาพตั้งแต่ก่อนให้เปิดโครงการ ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สอน และควบคุมการบริหารโครงการการเลี้ยงตัวเองเหล่านี้อย่างเคร่งครัดและมีบทลงโทษที่บังคับใช้อย่างจริงจังThe main porpose of the study was to evaluate State of Education in Public Administration in Thailand (from 1997 to present). The study employed qualitative method using Stufflebeam’s CIPP Model of evaluation to investigate the internal and external contexts (C) of the study regarding social, economic, and political situations in the country; program’s philosophy, curriculum, and student selection process as input (I); teachers/professors’ qualification and teaching materials and method as process (P); Samplings were drawn from the universities that offer program from undergraduate level to doctoral level, except for National Institute of Development Administration (NIDA). Data were collected from document, in-depth interviews, and focus groups as it deems appropriate from five groups of informants: academicians from each disciplines, teachers/professors in program, program administrators or directors, students and stakeholders from public and private organizations. The results of the study revealed various issues derived from the Thailand Qualification Framework (TQF). TQF was found not to attack the root problems of current state of teachings in Political Science and Public Administration. Marketization of education and the escalating competition for “customers” especially at the graduate study have worsened the quality of the recruitment and teaching program. Teachers were found not to hold the degrees in the field or subject of their teachings and overloaded with many courses each semester. Hence, Less time was spare for doing research. Class evaluation was merely done since keep the program running was utmost important than maintaining the quality of teaching. It is, therefore, recommended that central agency responsible for setting and maintaining quality education should step forward, strengthen the law, and enforce it from the early stage of approving the program to prevent the problem from escalating like what has happened nowadays.

Downloads