ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา

Authors

  • พีระศักดิ์ วรฉัตร

Keywords:

การปกครองท้องถิ่น - - ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), การปกครองท้องถิ่น - - การบริหาร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาโดยวิธีการวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลและองค์ประกอบเชิงโครงสร้างการบริหาร 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหาร และ  3)  เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบริเวณพื้นที่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จากประชากรจำนวน  24,364 คน กลุ่มตัวอย่างได้โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 603 คน โดยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ การประชุมเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามชนิดมาตรฐานประมาณค่า 5 ระดับ สถิติพื้นฐานที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ เพื่อการวิเคราะห์เส้นอิทธิพล ได้แก่ ไค-สแควร์ การทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย พหุคูณ ค่าดัชนีรากฐาน ค่าดัชนีตรวจสอบความกลมกลืน ค่าอิทธิพลรวมของตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า  1)  ประสิทธิผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี มีการพัฒนาอย่างเป็นรูปประธรรม  ในด้านปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานการสาธารณูปโภค การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ การจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา และด้านสาธารณสุขมูลฐาน ชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมมีการพัฒนาดีขึ้นโดยลำดับ เส้นทางคมนาคมสะดวกประหยัดเวลาในการเดินทาง มีสวัสดิการและสวัสดิการเพิ่มขึ้น  2)  รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ในอุบลราชธานี มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านเกณฑ์อยู่ในเกณฑ์ดี ( ไค-สแควร์ =  920.88, df= 2.55, P- value =  0.00,  RMSA= 0.05, SRMR =  0.03, GFI=  .91, AGFI =  0.88)  โดยองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาได้ร้อยละ 96 3)  ผลการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสมมติฐาน โดยองค์ประกอบด้านผลิตผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ได้รับอิทธิพลรวมจากเจตคติในการทำงานมากที่สุด และได้รับอิทธิพลทางตรงจากด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ องค์ประกอบด้านประสิทธิผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากด้านเจตคติมากที่สุด และพัฒนามาเป็นโมเดลโครงสร้างขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกรูปแบบหนึ่ง This research was research and development with mixed research methods aimed to 1) study the effectiveness and structural factors of local administration 2) to create and develop the relationship models of influencing on the effectiveness of the administration,  and 3)  check the consensus among the assumed relationship models and declared data in effectiveness management.  The population 24,364 persons and purposive sampling with 603 persons The research tools were the future search conference,  focus group discussion,  and questionnaire with 5 rating scales;  additionally,  the used statistical analysis was percentage,  mean,  standard deviation and influential path analysis with Chi square t-test Multiple Correlation Total Effect Root Mean Square Residual Goodness of Fit Index Comparatives Fit Index The research found that 1)  The local administrations in the border areas located have the incentive development in the factor issues of service management,  i e. infrastructure,  elder welfare,  pre-schooling,  basic public health,  respectively.  These caused the development of living, comfortable transportation, and welfare being 2) The casuals relationship models of the local administration effectiveness had the declared harmony of data in the range of good(Chi-square = 920.88,  df = 2.55,  P-value = 0.00,  RMSEA = 0.05, SRMR = 0.03, GFl = .91, AGFI = 0.88).  The four factors could explain the variance of the effectiveness up to 96 percent.  In addition, 3) The factors of local administration efficiency got the highest rank of total influence from the attitude factor,  and got the direct influence from the effective management factor and the indirect one in the highest rank from the attitude factor and developed to a new model for local administration effectiveness.

Downloads