ประชาคมอาเซียนในแบบสหภาพยุโรป: การเปรียบเทียบโครงสร้างความร่วมมือตามธรรมนูญองค์การ

Authors

  • อุษณีย์ เอมศิรานันท์

Keywords:

สหภาพยุโรป, กฎบัตรอาเซียน, ความร่วมมือระหว่างประเทศ

Abstract

40 ปีหลังการก่อตั้ง ความเปลี่ยนแปลงของบริบททางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคและของโลกผลักดันให้อาเซียนทำการปฏิรูปองค์การครั้งสำคัญอาเซียนตรากฎบัตรอาเซียนขึ้นเป็นธรรมนูญและกรอบการดำเนินงานใหม่ขององค์การ กฎบัตรกำหนดเป้าหมายในการยกระดับการบูรณาการเป็นประชาคมอาเซียนพร้อมกันกับการเป็นองค์การที่ก่อตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎกติกาตามแบบสหภาพยุโรป บทความนี้ต้องการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างความร่วมมือของสหภาพยุโรปและอาเซียน ตามธรรมนูญของทั้งสององค์การ เพื่อประเมินขอบเขตของการรับเอาแนวทางการบูรณาการของสหภาพยุโรปโดยอาเซียน รวมทั้งความเป็นไปได้ของประชาคมอาเซียนในแบบสหภาพยุโรปในมุมมองของกฎหมายระหว่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า อาเซียนหลังกฎบัตรมีโครงสร้างความร่วมมือที่แตกต่างจากสหภาพยุโรปอย่างมีนัยยะสำคัญทั้งในแง่ 1) ความเป็นเอกเทศขององค์กร 2) กลไกการตัดสินใจ 3) ความมีประสิทธิภาพและเอกภาพของระบบกฎหมาย และ 4) การระงับข้อพิพาท เนื่องจากการกำหนดป้าหมายในการเป็นประชาคมที่ดำเนินการบนพื้นฐานของกฎกติกาตามแบบสหภาพยุโรป มิได้ตามมาด้วยความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบความร่วมมือหรือการจัดสรรอำนาจอธิปไตยระหว่างอาเซียนและประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ความท้าทายที่สำคัญของอาเซียนในการบรรลุเป้าหมายการบูรณาการคือ การก้าวข้ามความร่วมมือในรูปแบบเดิมตามวิถีอาเซียน Forty years after its establishment, ASEAN has faced various changes in the world and regional political, economic, and social context. These drove ASEAN to initiate a major reform by adopting the ASEAN Charter as the organization’s  constitution and the new framework of cooperation. The Charter sets the goal to raise its level of integration in order to become ASEAN Community, as well as to make ASEAN a rules-based organization in the same manner as the European Union (EU). This article aims to compare the structures of cooperation of the EU and ASEAN according to their organizational low, to what extent ASEAN is following the European integration model as well as the possibility of an EU-style ASEAN Community.The article demonstrates that post-Charter ASEAN remains a regional cooperation that differs substantially from the EU in terms of (1) the institutions’ autonomy (2) decision making method (3) effectiveness and unity of the law and (4) dispute settlement system. ASEAN’s ambitions to become an ASEAN Community as well as a rules-based organization as the EU have not been followed by changes in the forms of cooperation or the allocation of sovereignty between ASEAN and its Member States. The article argues that the main challenge of ASEAN in order to achieve its integration goal is to surpass its traditional method of cooperation known as ASEAN way.

Downloads