แนวทางการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Authors

  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • ธัญพิชชา สามารถ

Keywords:

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, การพัฒนาสังคม, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

Abstract

การใช้ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อยู่ในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี และจังหวัดเลย จำนวน 600 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการรับรองเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง และความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการเตรียมความพร้อมในการรองรับเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนที่ค้นพบ ประกอบด้วย การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน เป็นสาเหตุทางตรงของความสามารถในการรองรับเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน ส่วนสาเหตุทางอ้อม ได้แก่ ความเข้มแข็งของภาคเกษตรความมั่นคงของอาหารและพลังงาน 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีค่าค่าไค-สแควร์สัมพันธ์(X/df )เท่ากับ  0.94  ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ (CFI) = 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)=0.96 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.95 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA) = 0.00 ซึ่งดัชนีทุกค่าอยู่ในเกณฑ์ดี แนวทางการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความสำคัญอันดับแรกจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การมุ่งเน้นสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค แต่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีปัจจัยเสริมด้วยการสร้างความเข้มแข็งในภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน The objectives of this study were to study people's attitudes toward social and environmental development for preparedness of the upcoming ASEAN Economic Community,  to study causal relationships of people's opinions towards the social and environmental development for the upcoming ASEAN Economic Community,  and to provide suggestions toward guidelines of the social and environmental development for the upcoming ASEAN Economic Community.  The samples of study were 600 residents living in Nong Khai province,  Udon Thani province,  and Loei province obtained by using multi-stage sampling.  Data has been collected by using questionnaire on the causal relationships of factors affecting the preparedness of the upcoming ASEAN Economic Community.  Structural equation technique was employed for data analysis using LISREL. The research results found that : 1)  The causal relationship model in capabilities of the upcoming ASEAN Economic Community consisting of natural resource and environmental sustainable development;  the connectivity among countries in the region regarding economic and social security;  and the human development towards sustainable life-long learning society are direct factors toward the preparedness of the upcoming ASEAN Economic Community.  While,  indirect factors are agricultural strength;  and food and energy security.  2)  The developed model is fitted to the empirical data in a good level on Relative Chi-square(X/df) =0.94,  Comparative Fit Index(CFI)  = 1.00,  Goodness of Fit lndex (GF) = 0.96,  Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) =.95,  Root Mean Square Error of Approximation(RMSEA) = .00.  All result indicates that the model was in a good level.  The first priority in the guideline of social and environmental development for the upcoming ASEAN Economic Community has to deal with sustainable management of natural resources and environments,  the connectivity among countries in the region regarding economic and social security;  and the human development towards sustainable life-long learning society.  The supporting factors should be dealt with agricultural strength;  and food and energy security.

Downloads