ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาลของไทย

Authors

  • วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี
  • อนุรัตน์ อนันทนาธร
  • นภดล วงษ์น้อม

Keywords:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, ตำรวจนครบาล - - ความพอใจในการทำงาน, แบบจำลองสมการโครงสร้าง

Abstract

บทความวิจัยชิ้นนี้  มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของตัวแปรต่างๆที่มีต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาล ประการที่สอง วิเคราะห์และตรวจสอบความตรงของตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่แสดงอิทธิพลของตัวแปรหรือปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาลของไทย การศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างจากค่ายการทหารนครบาลทั้งระดับสัญญาบัตรและชั้นประทวนจำนวน 700 คนซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi stage random sampling) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรแฝงและตัวแปรสังเกตได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 6 ตอนมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ตั้งแต่ .570-.893  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ตัวแบบด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า  ทั่วไปลักษณะงานมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกค่อนข้างต่ำ ต่อตัวแปรแรงจูงใจ (.253) เพื่อคุณภาพชีวิตการทำงาน (.191) แต่มีอิทธิพลทางตรงที่เป็นลบต่อตัวแปรการบริหารองค์การ (-.080) ในขณะที่ตัวแปรรูปแบบของผู้นำมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกอยู่ในรับค่อนข้างสูงต่อตัวแปรแรงจูงใจ (.746) และอยู่ในระดับปานกลางต่อตัวแปรการบริหารองค์การ (.407) แต่มีอิทธิพลที่เป็นลบต่อตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงานค่อนข้างต่ำ (-.206) ส่วนตัวแปลแรงจูงใจมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกอยู่ในระดับปานกลางต่อตัวแปรการบริหารองค์การ (.593) และมีอิทธิพลทางตรงอยู่ในระดับต่ำต่อตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงาน (.001) และตัวแปรการบริหารองค์การมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกในระดับสูงต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน (.995) กล่าวโดยสรุป  คือ ตัวแปรการบริหารองค์การ (ADM) มีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน (QWL) ในระดับสูง ส่วนตัวแปรผู้นำและตัวแปรแรงจูงใจมีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่านตัวแปรการบริหารองค์การจึงทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาล ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างของคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจนครบาลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าไค-สแควร์มีค่าเท่ากับ 379.31  องศาอิสระ 336  ระดับนัยยะสำคัญ .052  ระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .963 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่า .963 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองคลองสวนเหลือ (RMR) มีค่า 0.029 ซึ่งแสดงว่า ตัวแบบการปรับปรุงตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยตัวแปรในโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเส้นสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงานได้ร้อยละ 87.2 The purposes of this research were 1)  to examine direct and indirect effects of each variables on the quality of work life and 2)  to analysis and validate the structural Equation Model of Thailand Metropolitan police officers'  quality of work life.  The samples of this study were 700 commission ed and non-commissioned police officers.  The Multi-stage random sampling was employed in the study.  The variables c of two exogenous latent variables,  two mediator latent variables,  and an endogenous latent variable.  Questionnaire consisting of 6 parts was used to collect the data.  The reliability of each measurement were ranged from.570.893.  The data were analyzed by using Descriptive statistics,  and LISREL analysis.  The study found that 1)  Work-type variable(WOR)  has a relatively low,  positive-  direct influence on Motivation variable(MOT(253)  and Quality of Work like 191)  and a negative-direct influence on Administration variable(ADM) .080).  Leadreship-style variable(LEA)  has a relatively high,  positive-direct influence on Motivation variable(MOT) (746)  and moderately positive direct influence on Administration variable(ADM) (407)  but relatively low,  negative influence on Quality of Work Like(QWL) .206).  Motivation variable(MOT)  has a positive-  direct-influence in a moderate-level on Administration variable(ADM) (593)  and in a low level on Quality of work like(QWL) (001)  And Administration variable(ADM)  has a positive direct influence in a high-level on Quality of work like(QWL) (.995)  In conclusion,  Administration(ADM)  has a positive influence on Quality of work like(OWL)  in a high-level,  while Leadership and Motivation have indirect influence via the Administration to impact Quality of Work Like of the metropolitan police.   2)  the Model of QWL was fit to the empirical data(Chi-square =379.31,  df=336,  pvalue= 0.05164,  RMSEA =0.014,  GF= 963,  AGFI = .956,  and RMR = 0.029).  In addition, the variables in the structural equation model could explain the variance of QWL accounting for 87.2 percent.

Downloads