ภาวะผู้นำ จุดเปลี่ยนชุมชน

Authors

  • อุทัย ปริญญาสุทธินันท์

Keywords:

ภาวะผู้นำ, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, การพัฒนาชุมชน

Abstract

บทความนี้ต้องการทบทวนความรู้เชิงทฤษฎีที่ผู้นำจำเป็นต้องรู้และนำเสนอกรณีศึกษาจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนา โดยภาวะผู้นำเป็นความพยายามของบุคคลที่จะชักจูงและกำหนดพฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อ และค่านิยมของบุคคลอื่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้จัดการเป็นบุคคลที่ทำให้บุคคลอื่นมุ้งไปสู่จุดหมายปลายทางให้ได้ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะเต็มใจหรือไม่ ขณะที่ผู้นำเป็นบุคคลที่ผู้ตามเต็มใจที่จะมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางดังกล่าว แม้ว่าผู้จัดการจะเป็นตำแหน่งของผู้นำที่เป็นทางการที่องค์กรได้แต่งตั้ง การนั้นยังมีผู้นำที่ไม่เป็นทางการที่มีภาวะผู้นำและมีอิทธิพลมากกว่าผู้นำที่เป็นทางการให้พบเห็นได้ทั่วไป เช่นนี้ ผู้นำทุกคนก็อาจไม่ได้เป็นผู้จัดการ และผู้จัดการทุกคนอาจไม่ได้เป็นผู้นำ ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการละลายพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และการทำให้คงตัว ตามลำดับ สิ่งเหล่านี้กำหนดให้ผู้นำต้องมีความสามารถในการลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงด้วย กระนั้นความรู้เชิงทฤษฎีของภาวะผู้นำดังกล่าวข้างต้นจะให้คุณค่าอันใดเลย หากไม่มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะในบริบทของการจัดการชุมชน ซึ่งคาดหวังให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาภาวะผู้นำของตน ที่สุดก็เป็นจุดเปลี่ยนชุมชนไปสู่การเป็นชุมชนจัดการตนเองต่อไป This article aimed to review theoretical knowledge that the leader should be known and present the case studies of community which achieved in driving the development activity.  Leadership is an effort of an individual in persuading and designating others'  behavior,  attitude,  belief,  and value in order to achieve one's goal.  A manager is an individual who drives others towards the destination whether they are willing or not while a leader is a person after whom others willingly follow to the destination.  Even though a manager is a position for a formal leader appointed by an organization,  informal leaders with more leadership and more influence can commonly be found.  Therefore,  not all leaders are managers,  and not all managers are leaders.  Change is a process with continuous steps beginning from unfreezing,  then changing,  and refreezing,  respectively.  In addition,  these steps require leaders to have the ability to reduce resistance to change.  However,  the theoretical knowledge mentioned above will not be worthwhile at all if it is not utilized in a practical way especially in the context of community management in which people in the community are expected to have a chance to develop their leadership that will eventually lead the turning point for the community to being a self-managing community.  

Downloads