ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของการดำเนินกิจการของรัฐวิสาหกิจ: กรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง

Authors

  • สรสัณห์ อาภาภิรม

Keywords:

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ, บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, รัฐวิสาหกิจ, ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ

Abstract

งานวิจัยในเรื่อง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของการ ดำเนินกิจการของรัฐวิสาหกิจ: กรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และบริษัท การปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง นั้น ได้ทำการศึกษาหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องการจัดหาพลังงานที่สำคัญ สองหน่วยงาน คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท การ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย และบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) แบบพหุกรณีศึกษา (Multi - Case Studies) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) กับผู้บริหารและบุคลากรฝ่ายกิจการ สังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้บริหารและบุคลากรฝ่าย สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคมของ บริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจ สาขาพลังงานในประเทศไทย 2 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และชุมชนนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ผลการศึกษาสรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้งานด้านความรับผิดชอบของสังคม และสิ่งแวดล้อมของทั้งสองหน่วยงานยังไม่ประสบผลสำเร็จนั้น เนื่องจากผู้บริหาร ยังไม่มีความทุ่มเท และส่งเสริมในงานนี้เต็มที่มากนัก ยังมีการใช้งบประมาณใน ส่วนที่กลุ่มพวกตนเองต้องการและกำหนดไว้ โดยไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากผู้ได้ รับผลกระทบเท่าที่ควร และยังมีการละเมิดกฎหมายอยู่เสมอ ๆ ทั้งที่เป็นคดีความ ซึ่งศาลได้ตัดสินไปแล้ว และยังมีแนวโน้มที่จะฟ้องร้องกันอีก รวมไป ถึงการเปลี่ยนผู้บริหารทั้งในภาครัฐและในหน่วยงาน ทำให้นโยบายไม่มี ความต่อเนื่อง กลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่มเข้ามาตักตวงผลประโยชน์ และสุดท้ายชุมชนมีความเห็นที่แตกต่างกันไป ทั้งที่เข้าข้างผู้สร้างผลกระทบ และเข้าข้างผู้ที่ได้รับผลกระทบในทางลบ งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหาร ระดับกำหนดนโยบายควรเอาใจใส่อย่างจริงจัง ติดตามดูการใช้งบประมาณให้ ตรงกับเป้าหมาย ไม่เปลี่ยนนโยบายบ่อย ปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดูแลเข้มงวดกับกลุ่มผลประโยชน์ไม่ให้เข้ามาตักตวงหาผลประโยชน์ และต้อง ไม่สร้างความแตกแยกให้กับชุมชน รวมทั้งปฏิบัติให้เท่าเทียมกันทั้งผู้ที่เห็นด้วย และผู้ที่คัดค้าน ด้วยปัจจัยดังกล่าวจะทำให้งานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพIn this dissertation, the researcher examines two major agencies responsible for supplying power: the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) and the PTT Public Company Limited (PTT). As such, the research questions for this dissertation are as follows: What EGAT and PTT operations affect the social and environmental aspects of EGAT and PTT work performance? How satisfied are communities with EGAT and PTT operations regarding social and environmental responsibility? What operational problems and obstacles confront EGAT and PTT in respect to assuming social and environmental responsibility? In this qualitative multi-case study research investigation, the researcher collected data through conducting in-depth interviews and observing the relationships between organization representatives and communities. Concepts and theories derived from reviewing the germane literature were used as guidelines in constructing a research framework. In conducting in-depth interviews, the researcher divided the selected subjects into four groups. These consisted of EGAT administrators and personnel in the Corporate Social Responsibility Division and PTT administrators and personnel in the Corporate Communication and Social Responsibility Division. Furthermore, additional in-depth interviewees were representatives of the communities affected by EGAT and PTT operations. These communities were the Mae Moh mining community, Lampang province and the Map Ta Phut Industrial Estate community, Rayong province. Findings are as follows: The work of both entities involving social responsibility and the environment succeeded at a certain level in the aspects of economy, society, and the environment. Their work performance was well accepted by society. However, certain qualifications should be added in the light of the research carried out by the researcher. Aspects which are already deemed good should be improved. Administrators must regularly provide encouragement and pay close attention to work performance. The use of budgets should be responsive to those affected by operations. The law must be strictly followed. Policies must be continuously controlled. Groups receiving benefits from operations must come under strict control, or otherwise distribution of benefits will cause community rifts. Those who support operations and those who oppose operations should be treated equally. Provided that these factors are dealt with effectively, work performance involving corporate social responsibility and the environment will become more successful and efficient.

Downloads