ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
Keywords:
ปัจจัยเชิงสาเหตุ, การมีส่วนร่วม, อาสาสมัคร, ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลของแรงจูงใจและความพึงพอใจในการเข้ามาเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่มีต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้โปรแกรมลิสเรล การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยสถิติทดสอบ LSD หรือ Dunnett T3 ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย คือ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน อย่างละ 12 คน และสนทนากลุ่ม 6 ครั้งใน 6 จังหวัด ผลการศึกษาพบว่า อิทธิพลของตัวแปรในโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านทั้งอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ตามสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เพศ การศึกษา สถานภาพสมรส อาสาสมัครที่มีตำแหน่งอื่น ๆ ในชุมชน วิธีการเข้าสู่การทำงานของอาสาสมัครที่ต่างกัน การมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครไม่แตกต่างกัน ส่วนอาสาสมัครที่มีอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน สถานภาพครอบครัว ความถี่ในการฝึกอบรมหลังเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน สังกัดและภาคที่แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครแตกต่างกัน สำหรับปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ เช่น การไม่ให้ความร่วมมือของครอบครัวผู้สูงอายุ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุไม่เพียงพอ งบประมาณไม่เพียงพอ เป็นต้น The main purpose of this study is to 1) examine how the relationship between the motivation and satisfaction in becoming a Care-for-the-Elderly-at-Home volunteer affects the participation in the elderly care of Care-for-the-Elderly-at-Home volunteers along with assessing compliance between causal patterns and observed data 2) facilitate comparison of the participation in the elderly care of care-for-the-elderly-at-home volunteers and different factors of volunteers and (3) investigate and evaluate facing problems and the influence of obstacles to participation in the elderly care of care-for-the-elderly-at-home volunteers. Mixed method is applied in this research. For quantitative research, a sample used in this study is from 400 Care-for-the-Elderly-at-Home volunteers. Questionnaires are also used in this study. Statistics used for data analysis include percentage, an average value, Standard Deviation and the use of LISREL program for analysis of a causal model and checking for validity of a model based from the theory and observed data is also applied in this study. One-Way ANCOVA, One-Way ANOVA and LSD or Dunnett T3 to test differences between means. For qualitative research, key informants include care-for-the-elderly-at-home volunteers, local representatives, Local Social Development and Human Security agents, and village or sub-district headmen in twelve and focus group with 6 times in 6 provinces. The results revealed that the direct, indirect, and total influences of factors occurring as predicted from the observed data in the causal model of factors contributing to the participation in the elderly care of Care-for-the-Elderly-at-Home volunteers provide enough support to the fact that such model is consistent with the observed data. The factors of gender, education level, marriage status, occupation of the volunteers in areas, and different approaches of joining participation works of the volunteers are not statistically significant. On the other hand, the differences in age, occupation, family size, frequency of attending training after becoming a volunteer, duration of work duty, subordination, and duty section of the volunteers have a statistical significance. The main problems and obstacles to participation in the elderly care of care-for-the-elderly-at-home volunteers are that an elderly' s family fails to cooperate with care-for-the-elderly-at-home volunteers, that there are not enough volunteers, and that the budget is limited.Downloads
Issue
Section
Articles