การศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคระหว่างร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) กับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade)

Authors

  • สุมาลี รามนัฎ
  • อริญชย์ ณ ระนอง

Keywords:

กลยุทธ์, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม, ร้านค้าปลีกสมัยใหม่

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคในการใช้บริการระหว่างร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการระหว่างร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริโภค ในการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีก เมื่อมีความต้องการสินค้าหลายชนิดในการซื้อแต่ละครั้งร้อยละ 67.00 มีการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 51.25 ใช้บริการในช่วงเวลา 09.01-12.00 น. ร้อยละ 61.25 ประเภทสินค้าที่ซื้อบ่อยมากที่สุดได้แก่อาหารสด ร้อยละ 79.75 มีพฤติกรรมเลือกใช้บริการร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ร้อยละ 87.75 เลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกเพราะมีทำเลของร้านใกล้ที่พักหรือที่ทำงาน เป็นร้อยละ 81.25 มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าต่อครั้งต่ำกว่า 100 บาท เป็นร้อยละ 45.50 โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยตัวชี้วัดปัจจัยทางการตลาดในภาพรวมของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านปัจจัยด้านการขายโดยใช้พนักงานขาย มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุดเท่ากับ 3.01 (ระดับปานกลาง) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับขณะใช้บริการ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 (ระดับปานกลาง) และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.46 (ระดับน้อย) ตามลำดับ นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยตัวชี้วัดปัจจัยทางการตลาดในภาพรวมของร้านค้าปลีกสมัยใหม่อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านราคา มีค่าเฉลี่ยรวมสูงสุดเท่ากับ 4.63 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58) และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49)            The research has three main objectives: 1) to study customers’ opinions on using services between the traditional retail trade and modern retail trade; 2) to investigate consumer behaviors in using services between the traditional retail trade and modern retail trade; and, 3) to compare customers’ opinions on using services between the traditional retail trade and modern retail trade in Bangkok. Research results revealed that most questionnaire respondents bought goods from a retail store when a variety of goods were needed at a time, accounted for 67.00%. The survey also showed that the frequency of buying goods was 1-2 times a week, accounted for 51.25%; service time was spent from 09.01-12.00 am, accounted for 61.25%; and most frequently-bought goods were fresh foods, accounted for 79.75%. The consumers’ buying behavior exhibited that 87.75% chose to buy goods from a modern retail store; 81.25% consumers chose to buy goods because of the proximity location from home or from work; and, the amount of money spent at one time was lower than 100 baht, accounted by 45.50%.          It was also found that an indicator of overall marketing factors for traditional retail trade was at a low-level mean by 2.23 With separate domains, the selling factor concerning the sales staff had the highest mean; an experience factor that a customer encountered while getting a service exhibited a lower mean; and, a factor of products demonstrated the mean levels of 3.01, 2.96, and 2.46, respectively. In addition, an indicator of overall marketing factors for modern retail trade was at a high-level mean by 4.17. With separate domains, a pricing factor had the highest mean; a product factor exhibited a lower mean; and, a factor of distribution channel demonstrated the mean levels of 4.63, 4.58, and 4.49, respectively.

Downloads