กลยุทธ์การจัดการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีสู่มหาวิทยาลัยพระปกเกล้ารำไพพรรณี

Authors

  • ปัญญณัฐ ศิลาลาย
  • บรรพต วิรุณราช

Keywords:

กลยุทธ์, การปรับเปลี่ยน, แผนที่กลยุทธ์, กลยุทธ์การจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, มหาวิทยาลัยพระปกเกล้ารำไพพรรณี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ไปเป็นมหาวิทยาลัยพระปกเกล้ารำไพพรรณี ในรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ 2) เพื่อศึกษาแผนที่กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการสู่การปฏิบัติจริง การวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ เชิงคุณภาพด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Appreciation Influence Control: PAIC) โดยใช้เครื่องมือ PESTEl Analysis และ SWOT Analysis และเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล/ ตัวอย่าง จำนวน 5,065 ฉบับ และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ การวิจัยพบว่า ปรัชญาที่ควรจะเป็นคือ มหาวิทยาลัยพระปกเกล้ารำไพพรรณี เป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งอาเซียน วิสัยทัศน์ที่ควรจะเป็นคือ มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างคนดี คนเก่ง สู่ประชาคมอาเซียน พันธกิจ 4 ด้าน คือ 1) การเรียนการสอน 2) การวิจัย 3) การบริการวิชาการ 4) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลยุทธ์สนองมิติการเงินมี 16 กลยุทธ์ สนองมิติลูกค้ามี 16 กลยุทธ์ สนองมิติกระบวนการภายในมี 16 กลยุทธ์ สนองมิติการเรียนรู้และการเติบโตมี 17 กลยุทธ์ และพบแผนที่กลยุทธ์ 2 แผนที่กลยุทธ์ คือ แผนที่กลยุทธ์มหาวิทยาลัยพระปกเกล้ารำไพพรรณี และแผนที่กลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีแผนที่กลยุทธ์ทั้ง 4 มิติ คือ ด้านการเรียนการสอน 32 กลยุทธ์ มีกลยุทธ์ภายใน 18 กลยุทธ์ ด้านการวิจัย 16 กลยุทธ์ มีกลยุทธ์ภายใน 9 กลยุทธ์ ด้านการบริการวิชาการ 13 กลยุทธ์ มีกลยุทธ์ภายใน 8 กลยุทธ์ และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 13 กลยุทธ์ มีกลยุทธ์ภายใน 10 กลยุทธ์ แผนที่กลยุทธ์จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว โดยการปรับเข้าสู่แผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย และแผนกลยุทธ์ระดับคณะ คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยพบว่า มีผลการดำเนินการตาม 4 พันธกิจ ของ Balance scorecard พัฒนาขึ้นตามลำดับ เช่น กระบวนการพัฒนาภายใน งบประมาณเพิ่มขึ้นและมีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น           This research aims 1) to study the strategic plan Rambhaibarni Rajabhat University (RBRU) to Prapokklao Rambhaibarni University (PRU) in the form of participation of stakeholders at all levels 2) to study the strategies and action plans into practice. The research process can be divided in to two parts. The first part is a qualitative research with the workshop participants (Participation Appreciation Influence Control: PAIC) using PESTEL and SWOT analysis. The second part is quantitative research which stakeholders were asked to use descriptive statistics.          The research results found that the philosophy of the PRU is ASEAN local university. The vision should be the university to create the good people to ASEAN society with four missions’ areas: 1) teaching, 2) research 3) Academic Services 4) culture preservation. The research results also showed that the financial dimension, the customer dimension, the development process dimension and learning to growth of the institute organization dimension are composted of about 16 strategies for each. The relationships between university strategies plan and the faculty of Science and Technology strategies plan are also reported. The strategic map of the four missions’ areas: The teaching consists of 32 strategies were found to be within 18 strategies. The research mission consists of 16 strategies were found to be within 9 strategies. The academic services mission consists of 13 strategies were found to be within 8 strategies and the culture preservation mission consists of 13 strategies were found to be within 10 strategies. The advanced of this research has found that the strategic map of this study has led to practical and concrete by adapting to the university's strategic plan and the strategic plan of the faculty of Science and Technology. The result found that develop improved sequentially, such as the institute development process, budget and the number of students.

Downloads