ปัญหาทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการโดยประมาท
Keywords:
กฎหมายอาญา, ตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ประมาทเลินเล่อAbstract
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐเป็นการกระทำทางปกครองในฐานะตัวแทนอำนาจของรัฐ จึงต้องมีกฎหมายพิเศษรองรับการกระทำของเจ้าพนักงาน แต่เนื่องจากเจ้าพนักงานของรัฐเป็นปัจเจกชนที่อาจมีการกระทำที่ผิดพลาดได้ รัฐจึงต้องตรากฎหมายในการควบคุมพฤติกรรมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อให้เจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายพิเศษนั้น แต่กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันของประเทศไทยมีแต่กฎหมายที่ผู้กระทำต้องมีเจตนาในการกระทำและต้องมีมูลเหตุจูงใจหรือเจตนาพิเศษในการกระทำ ส่วนการกระทำโดยประมาทนั้นมีพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ. 2539 รองรับในการชดใช้ผู้ที่ต้องเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานของรัฐ แต่หากเจ้าพนักงานของรัฐมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผลการกระทำดังกล่าวจะเกิดผลเสียหายร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม และเจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นไม่ต้องรับผิดทางอาญา โดยเจ้าพนักงานของรัฐย่อมต้องมีวุฒิภาวะและมีการฝึกอบรมจากหน่วยงานของรัฐ ทั้งมีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่เจ้าพนักงานของรัฐ แต่ละหน่วยงานต้องปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานของรัฐแต่ละคนจึงต้องมีความระมัดระวังมากกว่าปัจเจกชนปกติในการปฏิบัติหน้าที่ของตน และแนวคิดในการกำหนดให้มีความรับผิดทางอาญาจะก่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความเกรงกลัวและมีความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งสหพันธ์รัฐเยอรมัน สหราชอาณาจักร มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน ต่างมีกฎหมายที่บัญญัติความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการที่เจ้าพนักงานของรัฐประมาทเลินเล่อปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีความไว้วางใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ ดังนั้น การที่รัฐไม่มีบทบัญญัติในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐโดยมิชอบ จนเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยประมาท หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ จนเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยประมาท จึงเป็นความเสียหายแก่สังคมมากกว่า ประเทศไทยจึงควรมีกฎหมายที่บัญญัติความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยประมาทหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยประมาทโดยมิชอบ จนเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยประมาททั้งนี้ เพื่อให้เจ้าพนักงานของรัฐต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนมากขึ้น และเป็นตามหลักการคุ้มครองความเชื่อถือและความไว้วางใจของประชาชน Duty performance of government officers is an administrative action done as a representative of the state power. Consequently, there must be special laws to support the action of the government officers. However, as a government officer is an individual person who can do wrong things; thus, the laws have to be enacted as a control measure of duty performance for the government officers so that they can perform their duties to meet the intention of those special laws. Nonetheless, according to the present law enforcement in Thailand, there are the ones stating only violations of government officers in the performance of their duties by willful acts and with motive or special intent. Violations done by negligence will be covered under the Act of Tort Liability of Government Officers, B.E. 2539, illustrating that the government of the state is liable for the compensation to the damage caused by conducting the performance of duties or ignoring the performance of the duties by government officers. However, in case the government officer does not violate by gross negligence, and whether the said actions will cause severe damage or not, such government officer does not have to be responsible for criminal liability, provided that the government officers are necessary to have maturity and long-term training from state agency, and with job description standard for confirmation by government officers in each state unit. It is thus a necessity that each government officer must be more careful than a normal individual person in performing his/her duties. Furthermore, the concept in the enforcement of criminal liability may cause fear and more caution to the offenders. The Federal Republic of Germany, the United Kingdom, the State of Michigan, the US, and the People’s Republic of China also have the law enforcement relating to criminal liability in case of the government officers unlawfully conduct the performance of their duties or unlawfully ignore the performance of their duties. Accordingly, owing to having no law enforcement on unlawful performance of duties of government officers causing damage to the others by gross negligence or ignoring performance of duties by government officers causing damage to the others will result in causing greater damage to the society. It is thus recommended that Thailand should have law enforcement on criminal liabilityrelating to conducting performance of duties of government officers by gross negligence or ignoring performance of duties by gross negligence and by unlawful acts causing damage to the others by gross negligence. Hence, the government officers will be more cautious in performing their duties and to be in accordance with the principle of reliability and trust protection for the people.Downloads
Issue
Section
Articles