อำนาจหน้าที่ ข้อจำกัด และความรับผิดชอบของคณะควบคุมทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายของวิสาหกิจ ค.ศ. 1994 : ศึกษาเปรียบเทียบกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

Authors

  • พรทิพย์ ดวงสวรรค์
  • ชลอ ว่องวัฒนาภิกุล

Keywords:

ล้มละลาย, เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, คณะควบคุมทรัพย์สิน, สปป.ลาว

Abstract

          จากการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยการล้มละลายของวิสาหกิจ ค.ศ. 1994 ของ สปป.ลาว ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ ข้อจำกัดและความรับผิดชอบของคณะควบคุมทรัพย์สินยังมีความไม่ชัดเจน เช่น สถานภาพทางกฎหมายว่าใครเป็นคณะควบคุมทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมายที่แท้จริง เพราะว่ากฎหมายมิได้มีการกำหนดไว้ แต่ในทางปฏิบัติตัวจริงแล้วมีแต่ศาลเป็นผู้แต่งตั้งคณะควบคุมทรัพย์สินขึ้นเอง โดยไม่มีกฎหมายข้อใดกำหนดไว้และการทำหน้าที่รวบรวมทรัพย์สิน และความรับผิดชอบของคณะควบคุมทรัพย์สินก็มีจำกัด ทำให้คณะควบคุมทรัพย์สินไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ได้อย่างเต็มที่ และส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะควบคุมทรัพย์สินไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเจ้าหนี้และลูกหนี้เท่าที่ควร ในขณะที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ของประเทศไทย ได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจหน้าที่ที่หลากหลาย และเฉพาะเจาะจงอย่างชัดแจ้ง เช่น ที่มาและสถานะทางกฎหมาย การติดตามรวบรวมทรัพย์สิน ข้อจำกัด และความรับผิดชอบ เป็นต้น ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของประเทศไทยมีความสะดวก และสามารถรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ          ดังนี้ เห็นควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายของวิสาหกิจ ค.ศ. 1994 ของ สปป.ลาว โดยให้มีการบัญญัติถึงที่มา และสถานะภาพทางกฎหมาย อำนาจหน้าที่ ข้อจำกัด และความรับผิดชอบของคณะควบคุมทรัพย์สินให้มีความชัดเจน ดังเช่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ของประเทศไทย อันจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของคณะควบคุมทรัพย์สินใน สปป.ลาว มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น           From the result of study, Law on Bankruptcy of Enterprises 1994 of Lao PDR concerning authority, restriction and responsibility of Control Property Committee provide vague, unclear scope of authorities. For example, legal status and sources, seizure of properties, restriction and responsibility etc. The Control Property Committee did not seize the debtor property to satisfy the obligation that the debtor responsible to pay every creditor in full, making the process unbeneficial to both creditor and debtors. By comparing to Bankruptcy Act B.E. 2483 of Thailand, the law has provided Official Receivers varies but distinct authorities. For example, legal status and sources, seizure of property, restriction and responsibility etc. Thus, this gives Thailand Official Receivers convenience and efficiency in debtor properties seizure.          As follows, Law on Bankruptcy of Enterprises 1994 of Lao PDR should be amended in order to provide the clear coverage of authorities including legal status and sources, seizure of properties, restriction and responsibility of Control Property Committee as the authorities given to Official Receivers in Bankruptcy Act B.E. 2483 of Thailand. This will enhance the Control Property Committee capability under the Lao PDR law.

Downloads