การพัฒนาความมั่นคงชาวนาไทยในเขตอีสานใต้ของประเทศไทย
Keywords:
การพัฒนา, ความมั่นคง, ชาวนาไทย, อีสานใต้Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างปัจจัยสำคัญตามแบบจำลองสมการโครงสร้าง และนำเสนอแนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนาความมั่นคงให้ชาวนาไทยเขตอีสานใต้ของประเทศไทยข้อมูลได้มาจากแบบสอบถามตัวแทนชาวนา 5 จังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา จำนวน 400 คน โดยการเลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง โดยใช้โปรแกรม LISREL แบบ Basic Model ผลการศึกษาพบว่า 1) โดยรวมสภาพปัญหาความมั่นคงของชาวนาเขตพื้นที่อีสานใต้ อยู่ในระดับสูง (P<.05) และพบว่า มี 2 ใน 3 ปัจจัยมีปัญหาอยู่ในระดับสูง (P<.05) ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการจัดการทำนา ส่วนด้านนโยบายรัฐต่อชาวนาไทย อยู่ในระดับปานกลาง 2) ทุกองค์ประกอบที่ศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญเชิงยืนยัน 3) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองฯ มีค่าสถิติเป็นไปตามข้อตกลงคือ Chi-square = 174.92, df = 270, P-value = 1.000, RMSEA = 0.000 และพบว่า ในสภาพปัจจุบันชาวนาที่มีความมั่นคง จะได้รับอิทธิพลทางตรงมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับปานกลาง และด้านการจัดการทำนา ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อมมาจากปัจจัยด้านนโยบายรัฐต่อชาวนาไทย ในระดับปานกลาง โดยส่งผ่านปัจจัยด้านเศรษฐกิจพอเพียง และปัจจัยด้านการจัดการทำนา และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากปัจจัย ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับต่ำ โดยส่งผ่านปัจจัยด้านการจัดการทำนา และ 4) แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความมั่นคงชาวนาที่ถูกพัฒนาขึ้นมา มี 7 แนวทาง ได้แก่ (1) จัดอบรมเพิ่มความรู้ให้เกษตรกร (2) ตั้งสถาบันการศึกษาเฉพาะทางเกี่ยวกับชาวนา (3) จัดโครงการสัญจรวิถีการเกษตร (4) จัดหน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายชาวนา (5) จัดตั้งเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชาวนากับหน่วยงานชลประทาน (6) จัดตั้งกลุ่มการตลาดของชาวนา และ 7) จัดตั้งธนาคารเพื่อการทำนาอย่างยั่งยืน The main objectives of this study were to study causal relationships among crucial factors with structural equation model, and to present appropriate approaches on the security development for Thai Farmers in Esarn-tai Region of Thailand. Data from a set of 400 Thai farmer questionnaires of 5 provinces, namely Ubonratchathani, Surin, Sri-saket, Buriram, and Nakornrachasima, with multi-stage random sampling, were collected. These statistics were employed: frequency, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, and path analysis by using LISREL program with Basic Model. Research findings were as follows: 1) A whole of Thai Farmers’ Security Situation in Esarn-tai Region were at the high level (P<.05). Also, it revealed that 2 in 3 aspects were at the high level (P<.05), namely Sustainable economics and Work in the rice field aspects. Moreover, Policy on Thai farmer aspect was at the moderate level; 2) Every examined components were as crucial confirmatory components of the model; 3) Causal relationship study with the structural equation model, these statistics were accepted: Chi-square = 174.92, df = 270, P-value = 1.000, RMSEA = 0.000. It revealed that Thai farmers’ security, most of them received direct effects from Sustainable economic aspect at moderate level and Working in the rice field aspects at low level. Moreover, it received an indirect effect from Policy on farmer aspect at moderate level through both Sustainable economics and Working in the rice field aspects. Again, it received an indirect effect from Sustainable economics aspect at the low level through Working in the rice field aspect; and 4) Seven appropriate approaches were created for developing the Thai farmers’ security: (1) Training for increasing knowledge to farmers, (2) Building special institutes for farmers, (3) Providing the famer ways project, (4) Providing the law guidance unit to farmers, (5) Formulating participation network between farmers and irrigation unit, (6) Building the marketing group of farmers, and (7) Establishing the bank for sustainable working in the rice field.Downloads
Issue
Section
Articles