พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Authors

  • อัจฉราภรณ์ หงส์สุพรรณ
  • ภัครดา ฉายอรุณ

Keywords:

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, พฤติกรรม, การดำเนินชีวิต

Abstract

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .923 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบไคสแคว์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบง่าย โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อยู่ในระดับมาก 2) ระดับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) โดยภาพรวมผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ระดับการศึกษา มีผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในแต่ละด้านพบว่า ปัจจัยระดับการศึกษา มีผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) ความรู้เรื่องแนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถทำนายพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05            The purposes of this research were 1) to study knowledge about sufficiency economy philosophy of Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus) 2) to study living life behaviors according to sufficiency economy philosophy of Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus) and 3) to study factors affect behavior of living life according sufficiency economy philosophy of Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus). The sample size was composed of 389 students who were Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus). The statistics analyzed the data such as percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analyses of variance, pearson’s product moment correlation coefficient and Simple linear regression analysis by the level statistical significant at .05 was valuable specification. The result found that 1) the level of knowledge about sufficiency economy philosophy of Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus) was at high level. 2) The level of living life behaviors according sufficiency economy philosophy of Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus) overall was at high level. 3) Overall, the hypothesis testing indicated that the general data factor were education significantly affected living life behaviors according to sufficiency economy philosophy overall. In term of that education factor significantly affected living life behaviors according to sufficiency economy philosophy in the immunity in living life aspects. 4) Knowledge about sufficiency economy philosophy and conceptual were positive significantly relation with living life behaviors according to sufficiency economy philosophy of Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus) and 5) Knowledge about sufficiency economy philosophy and conceptual be able to predicted living life behaviors according to sufficiency economy philosophy of Kasetsart University’s Students (Kamphaengsaen Campus) with significant.

Downloads