หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย

Authors

  • ภัสวรรณ อุชุพงศ์อมร

Keywords:

หลักกฎหมายทั่วไป, กฎหมายปกครองไทย

Abstract

          วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงหลักสารบัญญัติของหลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย โดยหลักกฎหมายทั่วไปนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเรื่องหนึ่ง และเป็นหลักกฎหมายที่มิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งศาลได้ค้นหาและนำมาใช้ในการอุดช่องว่างของกฎหมายลายลักษณ์อักษรในการนี้ได้ศึกษาถึงคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในการนำหลักกฎหมายทั่วไปมาพิจารณาประกอบในการวินิจฉัยคดีปกครอง โดยได้ศึกษาหลักกฎหมายเรื่องดังกล่าวของต่างประเทศด้วย เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการวางแนวทางในเรื่องหลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทย          จากการศึกษาพบว่า รากฐานแนวคิดของหลักกฎหมายทั่วไปทั้งในประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศไทย ต่างมีรากฐานแนวคิดหลักมาจากหลักนิติรัฐ หรือหลักนิติธรรม และมีการนำมาใช้ในการอุดช่องว่างของกฎหมาย หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทยนั้นได้ถูกพัฒนาและนำมาใช้มากขึ้น ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากหลักกฎหมายดังกล่าวหลายหลักได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบกับเป็นช่วงที่มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยเฉพาะ ซึ่งศาลได้มีการค้นหาและนำหลักกฎหมายทั่วไปหลักใหม่ ๆ มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และหลักความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น          จากการวิเคราะห์ตัวอย่างคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน พบว่า การใช้หลักกฎหมายทั่วไปในกฎหมายปกครองไทยนั้น แบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรก ศาลปกครองได้นำมาปรับใช้ กับคดีในฐานะ “บทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร” กล่าวคือ เป็นกรณีที่หลักกฎหมายทั่วไปนั้นได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว และกรณีที่สองศาลปกครองได้นำมาปรับใช้กับคดีในฐานะ “หลักการทั่วไปทางกฎหมาย” กล่าวคือ เป็นกรณีที่หลักกฎหมายทั่วไปนั้นยังมิได้ถูกนำมาบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำหลักกฎหมายทั่วไปแต่ละหลักมาปรับใช้กับคดีของศาลนั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการใช้หลักกฎหมายดังกล่าวอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับข้อเท็จจริงในคดี ทั้งนี้ เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เพื่อผดุงไว้ซึ่งความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม การที่ศาลจะนำหลักกฎหมายทั่วไปในฐานะ “หลักการทั่วไปทางกฎหมาย” มาปรับใช้กับคดีได้จะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องนั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร            This thesis intends to study substantive jurisprudence under general principles of law in Thai administrative law. The principles are normally unwritten thus interesting for legal academics. The courts have adopted the principles to fill the gaps in the written legislation. This study analyzed judgments of the Supreme Administrative Court comparing with foreign laws in order to designate way of studying general principles of law in Thai administrative law.          According to the research, fundamental concepts of the general principles of law in England, France and Thailand rooted from Legal State concept in civil law system or the Rule of Law concept in common law system. And the courts have filled the gaps in the written legislation by adopting the principles in making judicial decisions. The general principles of law in Thai administrative law have been much developed and more applied after the application of the Administrative Procedure Act, B.E. 2539. In this regard, many legal principles have been legislated in written law and the Administrative Court was established in this period. The Administrative Court is the key organizations in the administrative proceeding. The new general principles of law have been searched and applied by the Court such as human dignity and impartiality of the officials.          With analyzing the judgments of the Supreme Administrative Court between 2001 to present, this thesis found that the application of the principles in Thai administrative proceeding can be divided into two categories which are the general principles of law that is applied by The Administrative Court as “the Legislature” and the general principles of law that is applied by the Court as “the General Principle of Law” Especially, the court, systematically and perfectly applies the general principles of law to the adjudication of the cases. Besides filling the gaps in the written legislation, fairness is the other crucial reason the court applies the principles. Anyhow, The application of the general principles of law by The Administrative Court must be only in the case of the absence of the legislature and the principles must not be contrary to the legislature.

Downloads