ภาวะความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาค 2
Keywords:
ภาวะความเครียด, พฤติกรรม, การจัดการความเครียด, ปัจจัยด้านงานAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระดับภาวะความเครียด วิเคราะห์ปัจจัยด้านงานที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะความเครียดในการปฏิบัติงาน และวิเคราะห์การแสดงออกถึงพฤติกรรมในการจัดการความเครียดของข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรภาค 2 ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการตำรวจ สังกัดตำรวจภูธรภาค 2 จำนวน 1,019 คน และยืนยันผลโดยการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ข้าราชการตำรวจในประเด็นคำถามที่ผู้ตอบ 3 อันดับแรก ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการตำรวจฯ ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับภาวะความเครียดในการทำงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย = 2.48) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้าราชการตำรวจฯ มีระดับภาวะความเครียดในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการแสดงออกด้านจิตใจ(ค่าเฉลี่ย = 2.54) และด้านการแสดงออกด้านร่างกาย (ค่าเฉลี่ย = 2.40) ตามอันดับ ปัจจัยด้านงานที่มีผลต่อความเครียดในการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย = 2.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ปัจจัยด้านงานที่มีผลต่อความเครียดในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง 3 ประเด็น ได้แก่ ความก้าวหน้าในงาน (ค่าเฉลี่ย = 2.70) โครงสร้างองค์กรและบรรยากาศทั่วไปของการทำงาน (ค่าเฉลี่ย = 2.69) และลักษณะงานที่ปฏิบัติ (ค่าเฉลี่ย = 2.63) ตามอันดับ และปัจจัยด้านงานที่มีผลต่อความเครียดในการทำงาน อยู่ในระดับน้อย 2 ประเด็น ได้แก่ บทบาทในองค์กร (ค่าเฉลี่ย = 2.56) และ สัมพันธภาพในหน่วยงาน (ค่าเฉลี่ย = 2.28) ตามอันดับ พฤติกรรมการจัดการความเครียด พบว่า ข้าราชการตำรวจมีพฤติกรรมเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาอยู่ในระดับเป็นบ่อยครั้ง (ค่าเฉลี่ย = 2.51) โดยแสดงออกในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองมากเป็นอันดับแรก และด้านพฤติกรรมเผชิญความเครียด แบบมุ่งลดปัญหาอยู่ในระดับเป็นครั้งคราว (ค่าเฉลี่ย = 2.36) โดยแสดงออกในการตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนกและพยายามเผชิญปัญหาเป็นอันดับแรก ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนระยะเวลาทำงานที่เหมาะสมไม่เร็ว/ ช้า จนเกินไป แก้ไขความซ้ำซ้อนของหน้าที่และความรับผิดชอบอย่าให้ทำงานหลายอย่างเกินไป ช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ควรมีกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจฯ ทั้งภายในและระหว่างหน่วยงานบ่อย ๆ และควรเพิ่มอัตรากำลังให้เพียงพอต่อภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ This research aims to study and analyze the degree of tension while the police officers performs their duties. With regard to tension management of police officers in the Provincial Police Region 2, this research adopts mix methodology combining quantitative and qualitative approaches. In terms of quantitative, the sampling is composed of 1019 police officers in the Provincial Police Region 2. Meanwhile, the qualitative interview seeks to select three priorities of answers that the police officers mostly chose. The research has found that the police officers have low level of tension (equally to 2.48). When considering on each side, the police officers have low level of tension in mental and physical expression, equally 2.54 and 2.40 respectively. The overall work factor has a low level of stress (equally 2.58). When considering on each side, on the one hand, working circumstance has a medium level of tension in three dimensions: work progression (equally 2.70), organizational structure (equally 2.69) and job description (equally 2.63) respectively. On the other hand, working circumstance has a low level of tension in two dimensions: their role in organization (equally 2.56), the relationship within the same organization (sigma 2.28) respectively. Often, the study also found that the police officers have to solve their tension management equally 2.53. In order to resolve problem, self-development and self-consciousness is occasionally top two priorities of the provincial police region 2 (equally 2.36). There are several suggestions in developing the tension management of the police officers; the duration of working time, reducing multi-task responsibility, increase welfare and benefit, organizing activities in collaboration with internal and external organizations, and increase sufficient number of officers.Downloads
Issue
Section
Articles