การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษากลุ่มโอทอป ภาคตะวันออก
Keywords:
การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, โอทอป, OTOPAbstract
การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การจัดการความรู้ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มโอทอปภาคตะวันออก 2) พัฒนากระบวนการจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มโอทอปภาคตะวันออก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษาเฉพาะสินค้าประเภท ของใช้/ ของตกแต่ง/ ของที่ระลึก ในภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกต และการถอดบทเรียนจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบฝังลึก ได้แก่ ความสนใจ ความชอบ การถูกถ่ายทอดเนื่องจากเป็นมรดกจากครอบครัว การทดลองผลิตสินค้าใหม่อยู่เสมอ ความซื่อสัตย์ต่องานและลูกค้า และการศึกษาเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ 2) ส่วนกลุ่มที่จะได้รับการถ่ายทอด ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบชัดแจ้ง ประกอบด้วย บุคคลในครอบครัว และคนที่มีความชอบ 3) วิธีการในการถ่ายทอดความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบชัดแจ้ง ประกอบด้วย มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เป็นครู การทดลองปฏิบัติ รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง เอกสาร/ พิมพ์เขียวของผลิตภัณฑ์ เอกสารด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ 4) กระบวนการจัดการความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 4.1) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีวิธีการ คือ การสอนให้ปฏิบัติ และการตรวจคุณภาพของชิ้นงานและสะท้อนข้อบกพร่องเพื่อกลับไปแก้ไข 4.2) การสกัดความรู้จากตัวคน มีวิธีการคือ การสื่อสาร/ การเล่าเรื่อง ประวัติศาสตร์ของการทำงาน การให้ข้อมูลป้อนกลับการสร้างพิมพ์เขียวของชิ้นงาน/ ผลิตภัณฑ์และการรวบรวมเอกสารหรือไฟล์ข้อมูล 4.3) การควบรวมความรู้ มีวิธีการคือ ศึกษาจากงานของผู้อื่น การเข้ารับการอบรม คัดสรรเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์งานของตนเองเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด ศึกษาประวัติศาสตร์ในงานที่เกี่ยวข้อง การได้รับข้อมูลป้อนกลับ การแข่งขันกับสมาชิกภายในกลุ่ม การคิด วิเคราะห์เพื่อสร้างงานใหม่ การทดลองเพื่อค้นหาวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 4.4) การผนึกฝังความรู้มีวิธีการคือ การฝึกปฏิบัติ การได้รับการยอมรับจากลูกค้าและการคัดสรร/ แข่งขัน และการคัดสรร/ การประกวด This research aimed to study circumstances of the Eastern OTOP groups’ knowledge management of local wisdom and develop their process for local wisdom’s knowledge management. Studying only appliances in the East, this is qualitative research. The research tools included semi-structured interviews, observations, and focus group. The findings were as follows: 1) The factors building tacit knowledge for local wisdom which included interest, aptitude, and individual aptitude yielded learning and teaching by family members, new product experiment, loyalty to work and customers, and studies to produce new products. 2) Those gaining explicit knowledge for local wisdom transfer were family members and people with passion. 3) The explicit knowledge for local wisdom transfer was obtained through the master products used as models, trial practice, the senior generation teaching the younger one, document and product blueprints, and historical documents related to products stored in book and electronic formats. 4) The knowledge management process for local wisdom was found as follows: 4.1) Socialization included practical teaching, and product quality inspection and defect reflection to seek corrective actions. 4.2) Externalization included communication and using work history to interest product makers, giving feedbacks to improve work, creating item and product blueprints, and collecting hard and electronic documents. 4.3) Combination included learning from others’ work to improve their work, training attendance, analytical and critical selection of their work for improvement, examining related work’s history to create new products, customer feedback, group members’ competition to make the product better-looking, analytical thinking to create new and distinctive products and experiments seeking ways to develop new products. 4.4) Internalization included practicing to improve work skills, recognition from customers, and selection and competition.Downloads
Issue
Section
Articles