แนวทางการพัฒนาการบริหารงานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอำเภอไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • จันมาลา กุสน
  • ศิวัช ศรีโภคางกุล

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, การบริหารงาน, การเจริญเติบโต, อำเภอไซเสดถา

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาการบริหารงาน เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอำเภอไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมถึงปัญหาที่เป็นอุปสรรค และการประมวลข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขอุปสรรคในการสร้างแนวทาง การพัฒนาการบริหารงานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอำเภอไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และประชาชนของอำเภอไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 44 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการบริหารงานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอำเภอไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 8 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านการพัฒนา ด้านการเมือง ด้านการพัฒนาอำเภอ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านการพัฒนาวัฒนธรรม - สังคม ด้านการป้องกันชาติ - การป้องกันความสงบ ด้านวิทยาศาสตร์ - เทคโนโลยี ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และด้านการ พัฒนาโครงการพัฒนา โดยปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการบริหารงานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอำเภอไซเสดถา ได้แก่ ระดับความรู้ความเข้าใจของพนักงานที่เป็นสมาชิกพรรคและประชาชนจำนวนหนึ่งต่อแนวทางนโยบาย ของพรรค บางแผนงานโครงการที่ได้กำหนดไว้ไม่ประสบผลสำเร็จตามระดับความคาดหมายที่ตั้งไว้ ขาดการขยายตัวด้านการผลิตสินค้ามีประเภทใหม่ และไม่สามารถร่วมเป็นกลุ่มการผลิตได้ ขาดแคลนครูและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติมีบางด้านเสื่อมถอย ความเข้มแข็งและแบบแผนวิธีการทำงานของ การทำงานในระดับหมู่บ้าน ขาดการเชื่อมโยงทางด้านข้อมูลข่าวสารและข้าราชการอาวุโสขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ความสามารถทางด้านวิชาการในการติดต่อสัมพันธ์และภาษาต่างประเทศของข้าราชการรัฐและอำนาจการปกครองในแต่ละหมู่บ้านยังมีจำกัด และการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะถนนนอกเขตเทศบาลยังเป็นดินลูกรัง ทำให้การคมนาคมยังไม่สะดวกต่อการสัญจรสำหรับข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขอุปสรรคในการสร้างแนวทางการพัฒนาการบริหารงานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอำเภอไซเสดถา ประกอบด้วย การศึกษาฝึกอบรมทางการเมืองแก่พนักงานที่เป็นสมาชิกพรรค และประชาชนให้รับรู้เข้าใจแนวทางนโยบายของพรรคและกฎหมายของรัฐอย่างถ่องแท้ การลงทุนพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่าง ๆ ของอำเภอเพิ่มเติม การส่งเสริมให้ประชาชนสร้างเศรษฐกิจครอบครัว โดยการผลิตเป็นสินค้าที่มีเทคนิคและตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น การพัฒนาองค์ความรู้และวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ให้แก่ครูรวมถึงการปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามของชาติ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสงบ โดยการเข้าเวรยามของหมู่บ้านในยามกลางคืน เพื่อป้องกันความไม่สงบไม่ปลอดภัยให้หมู่บ้าน การสร้างความร่วมมือและอำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนภายในอำเภอให้มากขึ้น และปรับปรุงโครงการพื้นฐานด้านการคมนาคมให้มีความปลอดภัยและสะดวกต่อการเดินทางสัญจร             Purposes of this research were; to assess the management development of the Saysetta District, Vientiane Capital, Lao PDR. (Hereinafter refers to as “the district”), to study and analyze problems and obstacles in the management development of the district, and to recommend the solution of the aforementioned problems and obstacles which response to the growth of the district. This research was conducted in accordance to the qualitative methodology which comprised the collection of data from the in-depth interview and focus group activity of total 44 targeted populations from high rank and chief executive government officials, government officials, and citizens of the Saysetta District. The data collected was analyzed and concluded by the descriptive method. Results of this research revealed 8 indicators/aspects for the management development of the district; political development, district development, economic development, social and cultural development, national security and peace maintaining, science and technology, international relations, and project development. Problems and obstacles of the management development of the district were; levels of the understanding of the Party members and officials towards some policy of the Party which could not reach the goal of success in real practice, lack of the expansion of new product types, lack of the collaboration efforts for the building of producers’ cluster, lack instructors and teachers, recession of national culture, lack of the solidarity in the village’s working approaches, lack of the information connectivity, lack of knowledge in new technology in the senior government officials, lack of foreign language proficiency and international relation skills in government officials, limitation of administrative power in villages, and the condition of roads that obstruct the safety and convenient transportation especially those outside the municipal area. In order to solve the aforementioned problems and obstacles, the district was expected to consider these following recommendations: organize the political trainings for the enhancement of the Party’s members and the citizens’ understanding towards the Party’s policy and the state’s law, increase the investment for the development of the district’s infrastructures, promote the household economic by the production of clients-oriented goods, develop the new knowledge and teaching techniques for teachers, enhance the citizens’ appropriate values, promote the citizens’ participation for community security such as the village’s night guard team building, foster the cooperation and assistant for the foreign investors, and improve the infrastructures for the safety transportation of the citizens.

Downloads