การป้องกันและปราบปรามการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ
Keywords:
การอนุญาต, เจ้าหน้าที่, คอร์รัปชั่นAbstract
การอนุญาตเป็นกลไกประการหนึ่งที่รัฐยินยอมให้เอกชนดำเนินการได้ภายใต้การกำกับดูแลการควบคุมหรือการตรวจสอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐมีบทบาทอย่างยิ่งในการดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนั้น อย่างไรก็ตาม ปรากฏอยู่เสมอว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบแสวงหาผลประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ยังมีการแสวงหาประโยชน์จากการอนุญาตของเจ้าหน้าที่รัฐมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก การที่ไม่มีหน่วยงานอิสระเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนั้น ประการที่สอง การที่เจ้าหน้าที่รัฐอาศัยช่องที่กฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนั้นให้อำนาจไว้โดยกว้างขวาง เพื่อให้สามารถใช้ได้ครอบคลุมทุกกรณี ประการที่สาม ศาลปกครองไทยจำกัดบทบาท ในการเข้าไปตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตและประการสุดท้าย กฎหมายที่มีโทษทางอาญาตลอดจนการดำเนินการทางวินัยยังไม่ครอบคลุมการแสวงหาประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐในบางกรณี ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรกำหนดให้อำนาจแก่องค์กรอิสระ โดยเฉพาะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้เสนอแนะแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องว่ากฎหมายหรือกฎ หรือร่างกฎหมายหรือกฎ ว่าด้วยการอนุญาตฉบับใดอาจก่อให้เกิดการทุจริตขึ้นได้ เพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กฎ หรือร่างกฎหมาย หรือกฎนั้นมิให้มีช่องทางการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยกำหนดกรอบการใช้ดุลพินิจในการอนุญาตของเจ้าหน้าที่รัฐให้ชัดเจน พร้อมทั้งระบุอำนาจของศาลปกครองให้สามารถตรวจสอบดุลพินิจในส่วนของการพิจารณาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนั้น ยิ่งกว่านั้นยังสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีโทษทางอาญาให้ผู้ให้สินบนทุกกรณีต้องรับผิดทางอาญา กำหนดให้ผู้กระทำที่ให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสินบนดังกล่าวได้รับโทษน้อยลงหรือไม่ต้องรับโทษสำหรับการกระทำความผิดนั้น ขยายขอบเขตของสินบนให้ครอบคลุมถึงประโยชน์ที่ไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้การมิให้อดีตเจ้าหน้าที่รัฐใช้ข้อมูลภายในหน่วยงานของรัฐเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่นในส่วนการดำเนินการทางวินัย สมควรกำหนดไว้ในกฎให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาสอบสวนทางวินัย กรณีที่ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตโดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ทำคำสั่งนั้นกระทำไปโดยไม่สุจริต Licensing is one of the mechanisms for authorizing private bodies to perform functions/ do activities regulated by government authorities. Under this mechanism, government authorities play important role in ensuring that the objectives of licensing law will be observed. However, it appears that government authorities sometimes abuse their power for interests of themselves or others. The study suggests that there are 4 main reasons explaining why abuse of authorities exist. First, there is no independent body having power to examine/inspect the use of power. Second, a wide scope of discretionary power given by law leaves room for abuse. Third, the Administrative Court has not sufficiently played active role in controlling the use of licensing power. Finally, existing criminal law and disciplinary procedures do not cover all cases of abuse of licensing power. It is proposed that an independent body especially has power to make suggestion to responsible government bodies and departments that certain existing law or regulation, or drafted law or regulation may leave a room for corruption and therefore should be amended to prevent government officers from procuring advantages to which they are not entitled by law. In addition, law should be amended to stipulate the limitation for exercising discretionary power of government officers/ public officers. The administrative court should have the power to control the exercise of discretionary power in accordance with the objectives of licensing law. Moreover, the law should criminalize bribing and offering bribe, reduce or exempt penalty for those who give information or inform about such criminal act. The definition of bribe should be extended to cover non-financial advantage. Former government officers should be prevented from exploiting the government bodies' internal information for his or other’ s advantage. As regards disciplinary action, a head of a government body should be required to initiate disciplinary action should the administrative court orders licensing decision be withdrawn.Downloads
Issue
Section
Articles