กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงินต้นแบบ

Authors

  • สุพัตรา แผนวิชิต
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

Keywords:

อาชญากรรม, เศรษฐกิจและการเงิน, กฎหมายวิธีสบัญญัติ, กฎหมายต้นแบบ

Abstract

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน สืบเนื่องจากปัญหาความรุนแรงและผลกระทบจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน ปัญหากฎหมายสารบัญญัติที่กำหนดประเภทความผิดและมาตรการบังคับใช้กฎหมายมีจำนวนมากและมีเนื้อหาแตกต่างกัน และปัญหาการขาดกฎหมายวิธีสบัญญัติเฉพาะที่ใช้บังคับกับคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน จึงนำมาสู่การจัดทำกฎหมายต้นแบบด้านวิธีสบัญญัติเฉพาะ เพื่อกำหนดแนวทางบังคับใช้กฎหมายสารบัญญัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ โดยวิเคราะห์กฎหมายภายใน กฎหมายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ และการจัดประชุมรับฟังความเห็น ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน พ.ศ. ....ที่ได้จัดทำขึ้น มีบทบัญญัติจานวน 21 มาตรา แบ่งออกเป็น 5 หมวด 3 ส่วน และบทเฉพาะกาล ประกอบด้วย มาตรการที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักสากลใน 3 ขั้นตอนของกระบวนการดำเนินคดี คือ ชั้นก่อนการพิจารณา ประกอบด้วย การค้นตัวบุคคลหรือยานพาหนะ การดักฟังหรือการเข้าถึงข้อมูล มาตรการอำพราง การต่อรองคำรับสารภาพและการกันตัวผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน ชั้นระหว่างการพิจารณาคดี ประกอบด้วย การใช้ระบบไต่สวน ชั้นหลังการพิจารณาคดี ประกอบด้วย การใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษปรับ การริบทรัพย์ตามมูลค่าและการคุมประพฤตินิติบุคคล          ข้อเสนอแนะของการวิจัย ประกอบด้วย แนวทางการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย ข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการ และข้อเสนอแนะประเด็นวิจัยต่อไป          The objectives of this Research are to draft a model statute on judicial procedures for economic and financial crimes. Because of problems, gravity and impact of the economic and financial crimes, problems with substantive law, which defines the category of offense and measures for enforcement of the law, which are numerous and materially varying among each other, and problems of lack of procedural law for specifically governing the economic and financial crimes, it leads to drafting of a model statute of substantive specific procedural law, in order to stipulate the approach for enforcement of the substantive law as to be in the uniform direction, by analyzing national law, foreign laws and international laws, thereby employing the methodology of qualitative research, including: documentary research; in-depth interview; participatory co-design; and organizing a meeting for opinion hearing. The bill of Act on Procedures for Economic and Financial Crimes, B.E. …, which is drafted here, contains 21 Section, divided in 5 Chapters, 3 Parts and Transitory Provisions, comprising of effective measures consistent with the universal principles in 3 stages of the judicial procedures, being: the pre-trial stage, including search of persons or vehicles, covert listening or access to information, covert measures, plea bargaining and granting immunity against prosecution in return of witness testimony; the trial stage, including introduction of an inquisitorial system; and the post-trial stage, including discretion in imposition of fine penalty, value confiscation and corporate probation.          Recommendations from the Research comprise of: approaches to application of the Research; recommendations for law; recommendations for policies; recommendations for administration and recommendations for further research.

Downloads