ความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้บิททอเรนต์โปรโตรคอล
Keywords:
บิททอเรนต์, BitTorrent, ลิขสิทธิ์, ความรับผิด, ผู้ให้บริการ, หลักอ่าวปลอดภัยAbstract
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความรับผิดของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านการใช้บิททอเรนต์โปรโตคอล โดยเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสวีเดน โดยเป็นการศึกษาจากหนังสือ ตำรา และเอกสาร ซึ่งผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 สามารถกำหนดความรับผิดเกี่ยวกับการใช้งานบิททอเรนต์ได้ในหลายกรณี อย่างไรก็ตาม กลับไม่อาจกำหนดความรับผิดแก่ผู้ให้บริการบิททอเรนต์ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้ ต่างจากกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้หลักการละเมิดโดยการสนับสนุน (Contributory Infringement) หรือความผิดฐานจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิด (Intentional Inducement Theory มาปรับแก่กรณีนี้ได้ และในกรณีของ ประเทศสวีเดนสามารถนำหลักการสนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้แก่กรณีได้ นอกจากนี้ มาตรา 32/3 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ยังไม่เป็นไปตามหลัก Safe Harbor หรือหลักอ่าวปลอดภัย* และเป็นที่ชัดเจนว่ายังมีช่องว่างหลายประการไม่ทันต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหามาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการกำหนดความรับผิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านบิททอเรนต์โปรโตคอล โดยผู้ศึกษาเห็นว่า สามารถนำบทบัญญัติมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้กับกรณีความรับผิดของผู้ให้บริการเว็บไซต์บิททอเรนต์ได้ และควรมีการแก้ไขมาตรา 32/3 เพื่อให้เป็นไปตามหลักอ่าวปลอดภัยเพื่อให้ความคุ้มครองผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผู้สุจริตได้อย่างเต็มที่ The objective of this research aims to study the liability of involved people in copyright infringement through the use of BitTorrent Protocol by comparing with those in United States and Sweden. The Methodology is qualitative research base on documentary works. The Results of this research founded that the Copyright Act, B.E. 2537 can be adjusted or interpreted to cover the BitTorrent Piracy cases. However, this law cannot extend to the liability of the BitTorrent Tracker who is the most important person that providing such service, while the copyright law of the other country such as United States and Sweden can applied the liability to the BitTorrent Tracker. The Determination of BitTorrent Tracker’s Liabilities in the United States can be adjust by contributory infringement or intentional inducement liability theory. In case of Sweden, in the cases of BitTorrent Liability can be adjust or interpreted by contributory liability theory in Penal Code. Moreover, section 32/3 of the Copyright Act, B.E. 2537 does not accordance with the Safe Harbor. So, it was clear that the Copyright Act does not cover to the new legal issue that become more complex. Therefore, the researcher personally believes that in case of the determination of BitTorrent Tracker’s Liabilities, the provision regarding contributory liability theory stipulated in section 86 of Criminal Law should be applied and the Copyright Act, B.E. 2537 should be partially amended and clarified for suitable application of law.Downloads
Issue
Section
Articles