ศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการ : กรณีศึกษา นักศึกษาพิการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Authors

  • รำจวน เบญจศิริ

Keywords:

ศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการ, การเรียนรู้ของนักศึกษาพิการ, นักศึกษาพิการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการเรียนรู้และตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตัวอย่างนักศึกษาพิการที่ใช้ในการศึกษาได้จากการสุ่มแบบสัดส่วนจากทุกคณะ จำนวน 170 คน การศึกษาศักยภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการ และตัวแปรสำคัญได้แก่ พฤติกรรมในการเรียนรู้ ความต้องการและความตั้งใจจริงในการเรียน สัมพันธภาพกับผู้อื่นในการเรียนที่มหาวิทยาลัยของนักศึกษาพิการรวมถึงแรงสนับสนุนทางสังคม และสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย พบว่า          1) นักศึกษาพิการมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีศักยภาพในการเรียนรู้ในระดับค่อนข้างสูงถึงสูง นักศึกษาสามารถวางแผนการเรียน เลือกวิชาเรียน และค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้ดี มีการอ่านหนังสือและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่เรียนมาด้วยตนเอง สามารถเรียนรู้และติดตามความรู้ต่างๆ ในวิชาที่เรียนได้เป็นอย่างดี สามารถอธิบายหลักการหรือทฤษฎีต่างๆ ที่เรียนมาได้ และสามารถตอบคำถามท้ายบทเรียนได้ถูกต้อง          2) พฤติกรรมในการเรียนรู้ สัมพันธภาพกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการ ซึ่งเป็นตัวแปรภายใน และสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวแปรภายนอก มีผลต่อศักยภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่พฤติกรรมในการเรียนรู้ สัมพันธภาพกับผู้อื่นในการเรียน และสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงคิดเป็นร้อยละ 53 ส่วนความต้องการและความตั้งใจจริงในการเรียนและแรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีผลต่อศักยภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ          ในการเปรียบเทียบผลของตัวแปรที่มีผลต่อศักยภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตัวแปรสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยมีผลต่อศักยภาพในการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการมากที่สุด (0.483) รองลงมาเป็นพฤติกรรมในการเรียนรู้ (0.164) และสัมพันธภาพกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ของนักศึกษาพิการที่มหาวิทยาลัย ( 0.094) ตามลำดับ          In this research investigation, the researcher studies the learning potential of physically challenged students at Ramkhamhaeng University (RU). The researcher also determines major variables influencing the learning potential of the students under study.          Using the proportional random sampling method, the researcher selected members of the sample population from physically challenged students registered at all faculties. A questionnaire was accordingly used to collect data from the 170 members of the sample population.          The researcher studied the variables of the learning potential of these physically challenged students; learning behaviors; needs and learning intention; relationships with others in university study; social support; and university environment.          Findings are as follows:          1) The physically challenged students exhibited learning potential at a rather high to a high level. They could plan their studies and were quite capable of selecting subjects by virtue of having searched for information from various sources. They read textbooks and understood the subjects they studied. They were able to learn very well and equally did very well in following up on the information they had learned. They could explain the principles and theories they had studied. They could do exercises involving the answering of questions at the end of lessons.           2) In respect to these physically challenged students, the researcher treated learning behaviors and relationships with others in university study as internal variables and university environment as an external variable. It was found that these variables influenced the learning potential of these students at a statistically significant level. The variables of learning behaviors, relationships with others in university study and university environment were explanatory of changes in the learning potential of the students at 53 percent. The variables of needs and learning intention and social support did not influence the learning potential of the students at a statistically significant level.           In comparing the variables influencing the learning potential of these students, the researcher found that the variable of university environment influenced their learning potential at the highest level of 0.483. Next in descending order were the variables of learning behaviors and relationships with others in university study. These variables influenced the learning potential of the students at 0.164 and 0.094, respectively.

Downloads