การออกแบบกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้รัฐธรรมนูญเพื่อควบคุมปัญหาอาชญากรรมทางการเมือง : การศึกษาแนวทางการออกแบบกระบวนการรองรับสิทธิการชุมนุมของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ
Keywords:
การชุมนุมสาธารณะ, การมีส่วนร่วมของสาธารณะ, สิทธิการชุมนุมทางการเมือง, อาชญากรรมการเมืองAbstract
นับตั้งแต่การมีรัฐธรรมนูญฉบับแรก ประเทศไทยได้เผชิญกับความท้าทายในการนำเอารูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาปฏิบัติใช้ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนอันถือเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ให้การรองรับ การให้ความคุ้มครองในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นเสมือนเครื่องมือป้องกันตัว สำหรับประชาชนที่ถูกหยิบยกขึ้นใช้ในการตรวจสอบและจำกัดการใช้อำนาจของรัฐ และได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ต่อรองอำนาจทางการเมืองที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นของประชาชน กลุ่มบุคคลหรือกลุ่มผลประโยชน์ อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา การแสดง ข้อเรียกร้องและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนบนท้องถนนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาปากท้องมักอยู่บนพื้นฐานของความรุนแรงและความมีอคติส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศและรากฐานของระบอบประชาธิปไตยของไทยในอนาคต งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดจากการขาดกระบวนการรองรับสิทธิการชุมนุมสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัฐ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนกับการควบคุมอาชญากรรมทางการเมือง 3) เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการรองรับการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองสำหรับประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัฐในประเทศอื่น ๆ และ 4) เพื่อวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการรองรับสิทธิการชุมนุมของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับผลกระทบโดยตรงจากการออกนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจน และแม้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทยได้ ออกพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ซึ่งครอบคลุมถึงกรณีการชุมนุมของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากนโยบายหรือการดำเนินการของรัฐ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งกำกับกระบวนการชุมนุมเคลื่อนไหวในที่สาธารณะของประชาชน โดยมิได้มีการกำหนดกระบวนการรองรับที่จะนำไปสู่การตอบสนองความเดือดร้อนของประชาชนผู้ชุมนุมแต่อย่างใด งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการตรวจสอบแนวคิดจากการสัมภาษณ์นักวิชาการและเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐเพื่อสรุปผลการศึกษา โดยจากผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบสำคัญที่ควรต้องมีการปรับปรุงและสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อใช้สำหรับการพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 เพื่อให้สามารถรองรับการออกแบบกระบวนการรองรับสิทธิการชุมนุมของ ผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การแจ้งการชุมนุม(ระยะเวลา) การอุทธรณ์การปฏิเสธการชุมนุม การระบุสิทธิของผู้ชุมนุม การประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการรับทราบผลการพิจารณาและการอุทธรณ์ผลการพิจารณา Since its first Constitution was founded, Thailand’s democracy has long faced challenges in terms of its implementation, especially on the issue concerning the exercise of the people’s political assembly right, which is regarded as one of the very fundamental freedoms protected under the Thai Constitution. The guarantee of such a right is thus seen as a political tool that protects people against the government’s abuse of power as well as leveraging the political power of the people and other interested groups. However, in practice, history has shown that political participation in the form of street protest, especially by individuals personally affected by the state’s social and economic policies, have often turned into violence and hatred affecting not only the country’s economic and social order, but also most important of all the political culture of the people upon which the country’s internal security and its future democracy depend. This research therefore aims 1) to examine the issues of political crime caused by public assembly of the individuals personally affected by state social and economic policy, 2) to explore the relationship between participatory models of democracy and political crime control, 3) to provide a comparative perspective of the procedures and practices in other countries, and finally 4) to design a procedure for implementing the right to public assembly of those who are personally affected by the state’s social and economic policies, which is currently lacking within Thailand’s legal framework. Although the Public Assembly Act (B.E.2558) which is currently being enforced is also applicable to the case of public demonstration by individuals personally affected by the state’s social and economic policies, such legislation is mainly intended to regulate public protest without providing any specific channel to address people’s grievances. This qualitative research uses content analysis based on the review of literature, concepts, theories, and relevant laws and regulations. Its final model was verified by academic scholars and government officials. The results show that important elements to consider adjusting and reincorporating into the Public Assembly Act (B.E. 2558) for its future amendment, in order to implement the public assembly right of the affected individuals or groups more effectively, are the timeframe for public assembly’s notification, the review process for the denial of public assembly, the rights of assemblers and organizers, and a coordination process with public safety authorities, whereas the Regulations of the Office of the Prime Minister on a Public Hearing (B.E. 2548) should be required to have a more elaborated procedure, namely a mediation process with the concerned government agencies, and a decision-making and appellate process to be operated in connection with the Public Assembly Act.Downloads
Issue
Section
Articles