การวิเคราะห์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ของประเทศไทยในปัจจุบัน พ.ศ. 2558

Authors

  • ภิรดา ชัยรัตน์
  • เกวลิน ศีลพิพัฒน์
  • นิตยา เงินประเสริฐศรี
  • มนฤตย์พล อุรบุญนวลชาติ
  • ศรีรัฐ โกวงศ์

Keywords:

กระบวนทัศน์, รัฐประศาสนศาสตร์, หลักสูตร

Abstract

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานภาพหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่เปิดสอนในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2558) โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างคือ มหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 15 แห่ง ได้แก่ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 3) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4) มหาวิทยาลัยทักษิณ 5) มหาวิทยาลัยบูรพา 6) มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ 7) มหาวิทยาลัยนเรศวร 8) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 9) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 10) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 11) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 12) มหาวิทยาลัยศิลปากร 13) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 14) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ 15) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)           ผลการวิจัยจำแนกตามกระบวนทัศน์ พบว่า มหาวิทยาลัยทั้ง 15 แห่ง ให้ความสำคัญกับการศึกษากระบวนทัศน์กระแสหลักของรัฐประศาสนศาสตร์เป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับกระบวนทัศน์ทักษะการบริหารที่ผลการศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยทั้ง 15 แห่ง มีการเปิดสอนรายวิชาในกลุ่มทักษะการบริหารทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่และธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นแนวการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นกระแสใหม่ในการศึกษาทางรัฐประศาสนาสตร์ แต่ผลการวิจัยพบว่า มิใช่มหาวิทยาลัยทุกแห่งจะเปิดสอนรายวิชาในกลุ่มนี้ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีมหาวิทยาลัย 12 แห่ง จาก 15 แห่ง ที่มีการเปิดสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาครัฐแนวใหม่และธรรมาภิบาล โดยมหาวิทยาลัยเปิดวิชาในกระบวนทัศน์นี้ประมาณร้อยละ 8 - 62 ของวิชาทั้งหมด สำหรับกระบวนทัศน์คุณค่าสาธารณะ พบว่า มีเพียงมหาวิทยาลัย แม่โจ้ เพียงแห่งเดียวที่มีการเปิดสอนรายวิชาในกระบวนทัศน์คุณค่าสาธารณะ คณะผู้วิจัยได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไว้ในการศึกษาครั้งนี้          The purpose of this research was to analyze the state of current Public Administration curriculums in Thailand (the year of 2015). Purposive sampling was employed in this research. Fifteen public universities and autonomy universities in Thailand were the samples as follows: 1) Chulalongkorn University 2) Kasetsart University 3) Chiangmai University 4) Thaksin University 5) Burapha University 6) Thammasat University 7) Naresuan University 8) Mahasarakham University 9) Maejo University 10) Ramkhamhaeng University 11) Srinakharinwirot University 12) Silpakorn University 13) Prince of Songkla University 14) Sukhothai Thammathirat Open University and 15) Ubon Ratchathani University. This study utilized qualitative research approach, including documentary research, basic descriptive analysis (such as frequency and percentage), and content analysis.             Results, classify by PARADIGM, found that all universities saw the important of traditional public administration paradigm as primary paradigm. Like the traditional public administration paradigm, all universities in the sample offered courses in the managerial skills paradigm. Even though it was acknowledged that the new public management and good governance paradigm is a new trend in public administration study, not all universities in the sample offered courses in this paradigms, particularly, of fifteen universities in the sample, twelve universities offered courses in this area, ranging from 8 to 62 % of all offered courses. For the public value paradigm, Maejo University was the only University in the sample that offered courses in this paradigm. Implication and policy recommendation provided in the study.

Downloads