การพัฒนาการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • จีราภา ศิริพัลลภ

Keywords:

การจัดการงบประมาณ, ความคาดหวัง, ธรรมาภิบาล

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติจริงและสภาพที่ควรเป็น ทำการเปรียบเทียบการปฏิบัติจริงกับความคาดหวังว่าแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร และทำการศึกษาต่อไปว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการปฏิบัติจริงเพื่อนำเสนอ ปัญหา อุปสรรคในการบริหารงบประมาณนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรปราการ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงผสม การวิจัยเชิงปริมาณใช้ศึกษา ระดับการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามหลักธรรมาภิบาล ตามการปฏิบัติจริง และความคาดหวัง ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามหลักธรรมาภิบาล ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เพื่อเป็นการยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ใช้วิธีการหาความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)          ผลการศึกษาในภาพรวม พบว่า ปัจจุบันการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรปราการ ยึดหลักความโปร่งใส/ เปิดเผยมากที่สุด ความคาดหวังในการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาล ให้คะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด มีระดับค่าเฉลี่ย 4.60 โดยคะแนนด้านหลักคุณธรรม/ จริยธรรม มากเป็นอันดับที่ 1 มีระดับค่าเฉลี่ย 4.64 ด้านหลักประสิทธิภาพ เป็นอันดับ 2 มีระดับค่าเฉลี่ย 4.63 รองลงมาเป็นด้านหลักความเปิดเผย/ โปร่งใส มีระดับค่าเฉลี่ย 4.62 และด้านหลักการตอบสนอง เป็นลำดับสุดท้ายมีการปฏิบัติตามหลักนั้นอยู่ในระดับมากที่สุด มีระดับค่าเฉลี่ย 4.56 ปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสารด้านโครงสร้าง ด้านภาวะผู้นำ และด้านสภาพแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนข้อเสนอแนะให้มีการจัดการการบริหารงานบุคคลและมอบหมายงานให้ชัดเจน การสร้างความรู้ การลงพูดคุยกับชาวบ้านและสร้างค่านิยมให้ตระหนักถึงหลักธรรมาภิบาลกับสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลให้มากขึ้น          This research aims to study the practicality and expected in expenditure budget management accordance to the principle of good governance of subdistrict administrative organization in Samutprakarn province, Compare the differences between practicality and expected and study the factors affect to the budget management and suggestion to development of the budget management in accordance with good governance of sub district administrative organizations in Samutprakarn. This study uses mixed methods. The analysis uses the frequency-to-percentage method. Deviation value (SD)          The results showed that the practicality budget expenditure management of the sub district administration organization in Samutprakarn province was based on transparency / openness. The Expected of budget expenditure management accordance to the principle of good governance score at the highest level. The mean score was 4.60. The principle of moral / ethical is the first score, the average was 4.64, the second was the average 4.63, followed by the principle of transparency, mean score was 4.62. The principle of compliance is the last, mean score was 4.56. Leadership and environment had affected to the efficiency and effectiveness of sub district administration organization budget management in Samutprakarn province. Lastly the the research suggestions to improve personal management in term of make sure and clear in personal functions and responsibilities and make governance value to all of sub district administration organization employee.

Downloads