การประเมินผลโครงการตลาดเกษตรกรจังหวัดชัยนาท

Authors

  • สุภานี นวกุล

Keywords:

การประเมินผล, ตลาดเกษตรกร, จังหวัดชัยนาท

Abstract

          “การประเมินผลโครงการตลาดเกษตรกรจังหวัดชัยนาท” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการตลาดเกษตรกรจังหวัดชัยนาท และ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารโครงการตลาดเกษตรกรจังหวัดชัยนาท การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี (Mixed Methodology) คือ การวิจัยสำรวจ (Survey Research) กับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริโภค 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม 2) ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรผู้ค้า 9 คน 3) ภาครัฐ 2 หน่วยงาน และ 4) ภาคเอกชน 10 คน รวม 21 ตัวอย่าง โดยใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยใช้ CIPP Model และแนวคิดด้านการตลาด เพื่อประเมินประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า โครงการมีประสิทธิผลในระดับมาก โดยบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตคุณภาพของเกษตรกรและพัฒนาทักษะทางด้านการตลาด เปิดโอกาสให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการด้านการตลาด พัฒนาตลาดสินค้าการเกษตรไปสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน และพิจารณาจากตัวชี้วัดด้านความพึงพอใจของผู้บริโภค ซึ่งพบว่าอยู่ในระดับมาก          ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอแนะ พบว่า ควรพัฒนาและปรับปรุงตามความเร่งด่วนใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1) สถานที่จอดรถ ควรจัดหาสถานที่จอดรถเพิ่มและจัดระเบียบการจราจร รวมทั้งเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก 2) ประชาสัมพันธ์ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคและผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง 3) บรรจุภัณฑ์ ควรเป็นรูปแบบเดียวกัน และปรับปรุงให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและผ่านการรับรองความปลอดภัย 4) ราคาสินค้า ควรมีการกำหนดและควบคุมราคา โดยเน้นคุณภาพของสินค้าเป็นหลัก และพัฒนาช่องทางการรับชำระค่าสินค้าเป็นแบบคิวอาร์โค้ด 5) การจัดทำทะเบียนผู้ค้า ควรศึกษาลักษณะกลุ่มผู้ค้าเพื่อพัฒนาศักยภาพของแต่ละราย และ 6) การจัดตลาดเกษตรกร ควรกระจายไปยังอำเภออื่น เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ           “The Evaluation of Effectiveness of Chainat Farmer Market Project” focused on 2 objectives; 1) to evaluate the effectiveness of Chainat Farmer Market Project, and 2) to examine problems and/or threats and recommendations for improvements. The research design was the mixed methodology of survey research and qualitative research. Samples were categorized into 4 groups of stakeholder; customers/ consumers, farmers, public sector, and private sector. The questionnaire was designed for 400 accidental samples of customers. Observation and structured in-depth interview were used for 21 purposive samples of farmers, public sector, and private sector. Chainat Farmer Market Project was evaluated under CIPP model (context, input, process, product) and marketing concepts (product, price, place, promotion).          To evaluate the effectiveness of Chainat Farmer Market Project, the result found that objectives of the project were achieved; especially the project increases market places for farmers. In addition, the project enhances farmers having more marketing concepts and skills. The other indicator was customers’ satisfaction shown in high level. In conclusion, Chainat Farmer Market Project was effective. Problems and/or threats were divided into 6 issues based on top priority: parking; promotion; packaging and product; price; registration; and increasing more market places. Recommendations for improvements are: 1) increasing parking lots and traffic management accommodated by officials; 2) spreading promotion for more consumers and farmers; 3) developing standard of packaging shown the market’s unity and uniqueness and also improving products’ quality verified safety standard; 4) monitoring and controlling price based on products’ quality and implementing QR Code for payment; 5) precise studying of each farmer’s category, registration, and enhancing their customized capabilities; and 6) expanding Farmer Market Project to other districts where more consumers and farmers could access and get more benefits.

Downloads