ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์

Authors

  • พีระศักดิ์ วรฉัตร

Keywords:

วิสาหกิจชุมชน, ความเข้มแข็ง, ปัจจัยที่ส่งผล, การบริหาร, สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นการวิจัยผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้างและแบบบันทึกการสังเกตประชากร ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ปฏิบัติงานและมีความเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพในวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จำนวน 672 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ประชาชนที่ประกอบวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนแล้ว จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ         ผลการศึกษา พบว่า 1) ลักษณะการบริหารงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและนโยบายของรัฐบาลอำนวยประโยชน์ด้านเงินทุนและช่องทางการจัดจาหน่าย ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ที่ผสมผสานกับการพาพึ่งตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญา มีกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เสริมสร้างภาวะผู้นำในการประกอบการและสร้างผู้นำรุ่นใหม่สืบทอดต่อกัน การดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม ยึดธรรมาภิบาลในการดำเนินงานร่วมกันใช้ความได้เปรียบเชิงพื้นที่และวัฒนธรรมนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ ขยายเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าและการผลิต เพื่อการสร้างความเข้มแข็งทางสังคม 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ทั้ง 12 ด้านมีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.04) ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยใน ระดับสูง โดยปัจจัยด้านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.15) ส่วนปัจจัยด้านนโยบายของรัฐมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.94) และตัวแปรทุกตัวส่งผลต่อความเข้มแข็งในระดับสูง ปัจจัยทั้ง 12 ด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันอยู่ระหว่าง 0.53 - 0.84 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01        ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์กับตัวแปรเกณฑ์มีความสัมพันธ์กันเชิงเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถอธิบายการดำเนินงานที่เข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ได้ร้อยละ 76.90 (R2 = .769) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.262 3) ข้อเสนอแนะในการสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ด้านการตลาด พบว่า ควรส่งเสริมให้ผลิตสินค้าตรงกับความต้องการของตลาด โดยให้ความสำคัญกับพฤติกรรมผู้บริโภคและแนวโน้มการบริโภค ก่อนที่จะลงมือประกอบการหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ ราคาจะต้องไม่เกินความเป็นจริง หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมให้กลุ่มมีความสามารถในการจัดทำบัญชีรายรับ ในส่วนของผลิตภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ สร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์พัฒนาการติดต่อสื่อสารและสร้างเครือข่ายในระบบวิสาหกิจชุมชนให้ครบวงจร        This research aimed 1) to study on the management characteristics of the community enterprises in Surin province; 2) to study on the factors affecting on strength of the community enterprises in Surin province; and, 3) to study on suggestions for strength forming in the community enterprises in Surin province. This research was mixed between qualitative and quantitative research by the data was gathered from the group of community enterprises’ entrepreneurs in Surin province. The instrument used in the quantitative research was the questionnaire while the qualitative research used the semi-structure interview form and record of observation. Populations of this research were the operators and those associated in the community enterprises occupation in Surin provincial area. The group of samples in the quantitative research was 672 entrepreneurs of community enterprises selected from the multistage random sampling method, while the group of samples for the qualitative research was the 35 listed entrepreneurs of community enterprises. Data were analyzed by the values of Pearson's correlation coefficient and the multiple regression analysis.         It was found from the results of the study that 1) the management characteristics of community enterprises in Surin province, local administration organization and the government policy had facilitated for the capital cost benefits and channels of distribution. Mostly, attention was paid to the wisdom and creativeness together with self-sufficiency economic philosophy in order to select the suitable technologies development and top up the intellectual properties. It required having the process to form confidence on standard and quality of product, to enhance the leadership in the enterprising business and to from up the young leaders. Business running with responsibility toward consumers, social and environment with the holding and conform to the principle of good governance for the cooperation to gain the area competitiveness. Moreover, cultures would lead toward the unique outcomes, expanding the trade, and the production networks in strength forming for the society. 2) Factors affected the strength of enterprises in Surin province from all 12 aspects, they had the rather high average by the factor of self-sufficiency economics concept had the top score with the least value on government policy. All variables can affect on strength at high level. All 12 factors had the positive relationship with strength of community enterprise by the Pearson's coefficient correlation values were between 0.53 - 0.84 at the statistical significance level of 0.01. The testing results on the relationship between prediction variables and the criteria variables had the linear relationship at the statistical significance level of 0.01. It can explain on the strength of community enterprises cooperation in Surin province at 76.90 percent (R2 = .769) and at the level of predictive standard deviation of ± 0.262. 3) Suggestions to form strength for the community enterprises in Surin province; on the marketing aspect, it was found to support on the production of goods to serve right to the needs of the market. The importance must be paid on the consumer behaviors and consumption trends. Before starting on the business or product development, the price must not exceed the reality. Both the public and private units shall join in marketing promotion and promote the group to be able to make the paid and received accounts. On the part of production design was to seek for the public unit coordination and products standardization, communication development and forming the complete networks in the community enterprise system.

Downloads