การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง

Authors

  • วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี
  • วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ

Keywords:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิผลองค์การ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, HR

Abstract

          วิจัยเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง 2) ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง การศึกษาครั้งนี้ใช้วิจัยเชิงปริมาณ ประชากรเป็นพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง จำนวน 6,999 คน กลุ่มตัวอย่าง 346 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการศึกษาอาจสรุปได้ ดังนี้         1. ผลการศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากกลุ่มตัวอย่าง 346 คน พบว่า ในภาพรวม กลุ่มตัวอย่างมองว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิผลอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.24) เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า ด้านความสามารถขององค์การในการชนะใจผู้มีอิทธิพลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.46) รองลงมาคือ ด้านความคิดระบบ (ค่าเฉลี่ย = 3.44) ส่วนด้านความสามารถขององค์การในการบรรลุเป้าหมาย (ค่าเฉลี่ย = 3.39) และด้านค่านิยมที่แตกต่างกันของสมาชิกองค์การ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.39)         2. การศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การ กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยองใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression) ผลการวิเคราะห์ พบว่า ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการฝึกอบรม ด้านการพัฒนา และด้านการเรียนรู้ ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.01 และด้านการศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ทั้งนี้ตัวแปรอิสระมีประสิทธิภาพในการอธิบายประสิทธิผลองค์การประมาณร้อยละ 67.3 (Adjust R2 = 0.673)        Objectives of this research were to: 1) study the effectiveness level of human resource development of local administration organizations in Rayong province and 2) study the human resource development affecting the effectiveness of the local administration organizations in Rayong province.         The quantitative research method was used in this research. There were 6,999 officials as the whole population of the local administration organizations in Rayong province. The samples consist of 346 officials who were multi – stage randomized from the whole population as mentioned above. Questionnaire were utilized in this research.         The research results were found as follows:          1. The effectiveness of human resource development of the local administration organizations in Rayong province was at the moderate level (average = 3.24). While considering in each aspect, the ability to win favor of the influential people was at the highest level (average = 3.46), the systems thinking was rather high (average = 3.44), but the competencies to fulfill the local administration organizations’ objectives and the different values of officials were at the lowest level (average = 3.39).         2. The results of human resource development affecting the effectiveness of the local administration organizations were found from multiple regression that training, development, and learning factors affecting effectiveness of the local administration organizations were considered statistically significant at 0.01. And the education factor affecting effectiveness of the local administration organizations were considered statistically significant at 0.05. That was to say, the independent variables had efficient explanation of effectiveness of the local administration organizations at 67.3 percent.

Downloads