ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรประมง : กรณีศึกษาวิถีการดำรงอยู่กับความขัดแย้งของชาวประมงชายฝั่ง

Authors

  • พัชราภา ตันตราจิน

Keywords:

พื้นที่, อำนาจ, ความขัดแย้ง, ชาวประมงชายฝั่ง

Abstract

          บทความนี้นำเสนอประเด็นวิถีการดำรงอยู่กับความขัดแย้งของชาวประมงในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้งที่ชาวประมงต้องเผชิญในการใช้ทรัพยากรทะเล 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงต่างๆ ที่ใช้อำนาจที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทั้งที่มาจากตัวแทนอำนาจรัฐและไม่ใช่อำนาจรัฐ 3) เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลมิให้ความขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรง โดยใช้วิธีศึกษาเฉพาะกรณีตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด และตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ข้อค้นพบจากกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่าอำนาจของพื้นที่ทะเล (sea space power) เป็นตัวแปรหลักสำคัญที่ส่งผลต่อสาเหตุความขัดแย้ง การเพิ่มหรือลดความขัดแย้ง และวิธีการจัดการความขัดแย้ง ขณะเดียวกัน ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรประมงก็เชื่อมโยงกับอำนาจรัฐ (state power) อำนาจวัฒนธรรม อำนาจชุมชน (cultural power, community power) และอำนาจตลาด (market power) ซึ่งเป็นอำนาจที่ถูกใช้อย่างเชื่อมโยงกับพื้นที่ของความขัดแย้งว่าอยู่ในเขตชายฝั่งหรือนอกชายฝั่ง กล่าวคือ ความขัดแย้งในเขตชายฝั่งเป็นความขัดแย้งแบบสมมาตร (symmetric conflicts) ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างชาวประมงในพื้นที่เดียวกัน หรือใกล้เคียงในเรื่องของผลประโยชน์ที่ขัดกันในการใช้เครื่องมือที่ต่างชนิดกัน และพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ทับซ้อนกันความขัดแย้งที่คู่ขัดแย้งมีสถานะความสัมพันธ์ทางอำนาจ ไม่ต่างกันมาก ส่วนในอาณาบริเวณนอกเขตชายฝั่ง เป็นพื้นที่ที่เรือประมงขนาดเล็กไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิในการจับสัตว์และอำนาจชุมชนเอื้อมไม่ถึงมักเกิดความขัดแย้งที่เป็นอสมมาตร (asymmetric conflicts) คือ คู่ขัดแย้งมีอำนาจต่างกันโดยอำนาจรัฐมีแนวโน้มสนับสนุนเรือประมงขนาดใหญ่ อำนาจรัฐทำงานไม่เต็มศักยภาพหรือเอื้อมไม่ถึงนอกชายฝั่ง ทั้งยังไม่มีอำนาจชุมชนเอื้อประโยชน์ให้เรือประมงขนาดเล็กมีอำนาจต่อรองกับเรือขนาดใหญ่ได้ดังในเขตชายฝั่ง ความขัดแย้งที่เกิดภายในและนอกชายฝั่งจึงเป็นการผสมระหว่าง สมมาตรและอสมมาตรทางอำนาจ ระหว่างคู่ขัดแย้ง ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามพื้นที่ในการจับสัตว์น้ำหรือตามเขตการใช้ทรัพยากร กล่าวคือ จะสมมาตรหรือไม่สมมาตรขึ้นต่อเขตพื้นที่ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นซึ่งมีอำนาจรัฐ อำนาจชุมชนคอยแทรก ทำให้อำนาจของคู่ขัดแย้งเท่ากัน หรือเข้าไปไม่ถึงในบางพื้นที่ อันเป็นลักษะเฉพาะของความขัดแย้งทางทะเลที่สอดคล้องกับสภาพของธรรมชาติทะเลที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอทั้งผิวน้ำและทรัพยากรใต้น้ำและสอดคล้องกับวิถีของชาวประมงที่เป็นลักษณะคาดการณ์ได้ยาก (unpredictable) และการปรากฏตัวของอำนาจรัฐกับพื้นที่มีความสัมพันธ์กัน คือในที่ที่อำนาจรัฐหรือชุมชนไปถึงก็จะทำให้รูปแบบความขัดแย้งเปลี่ยนไป อันสะท้อนให้เห็นอีกว่าความขัดแย้งไม่อยู่นิ่งมีพลวัตเปลี่ยนได้เมื่อมีเงื่อนไขของอำนาจและพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องอำนาจและเวลาหรือความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขัดแย้งเท่านั้น และชี้ให้เห็นว่าการพิจารณาเพียงประเด็นความขัดแย้ง โดยไม่คำนึงถึงพลวัตการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ซึ่งสัมพันธ์กับอำนาจ อาจไม่เพียงพอในการใช้พิจารณาความขัดแย้งในทรัพยากรทะเล         This paper mainly investigates the process and related factors preventing violent conflicts generated in a particular area. There are three objectives for this study, including (1) to analyze issues of conflicts encountered by coastal fishermen in uses of marine resources; (2) to analyze relations among actors employing formal and informal power exploited by both actors representing state and non-state actors; and (3) to synthesize factors preventing violent conflicts in the case study of Tambon Mairood Amphoe Khlong Yai, Trat province and Tambon Kohperd Amphoe LaemSing Chanthaburi Province.          The case shows that sea space power is a significant factor determining causes, degree, and solutions to the conflicts in marine resources uses. Meanwhile, the conflicts involve with state power, cultural and community power, as well as market power that are co-related to the space of conflicts either in coastal zones or in offshore zones. In the coastal zones, the conflicts of interests in different fishing gears and overlapped fishing areas among fishermen in the same or contiguous areas are generally symmetric because their power relations are not much different. Whereas in the offshore zones, where rights in catching of small-scale fishing boats are not protected and the community power is unreachable, asymmetric conflicts usually occur because the state power tends to support large-scale fishing boats and law enforcement becomes less effective at sea. Moreover, unlike in the coastal zones, the community power may be weak and cannot support the smaller fishing boats in conflicts with the bigger ones in the offshore zones.          The conflicts in the coastal and offshore zones, therefore, are the combination of symmetric and asymmetric power shaped by the space of resources uses. Intervention of the state power and the community power, which is sometimes inaccessible in some areas, affects symmetric or asymmetric power relations among parties to the conflicts. Theses relations are uniquely consistent with the fluctuating nature of the sea both on its surface and in underwater resources as well as the fishermen’s way of life that is unpredictable. The conflicts are dynamic and not only shaped by power and time or relations among parties to the conflicts but also the conditions of power and space. As a result, considering the conflicts without the relations between power and space is insufficient in understanding of the issue of marine resources uses.

Downloads