ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs ไทย ในการเข้าสู่ตลาดของกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม

Authors

  • อัศกร ปานเพชร

Keywords:

ปัจจัยความสำเร็จ, ผู้ประกอบการไทย, ตลาดต่างประเทศ, SME

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs ไทย 2) เพื่อศึกษาการเข้าสู่ตลาดของกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ประกอบการที่ขึ้นเป็นรายชื่อเป็นผู้ส่งออกกับกรมส่งเสริมการส่งการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการที่ขึ้นเป็นรายชื่อเป็นผู้ส่งออกกับกรมส่งเสริมการส่งออกการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation analysis) และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)         ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจมาแล้ว 11-15 ปี มีมูลค่าเงินลงทุน ไม่เกิน 30 ล้านบาท มีจำนวนพนักงานในธุรกิจ 1-50 คน ส่วนมากเนินธุรกิจอยู่ในภาคการค้า-ค้าปลีก ดำเนินธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs ไทย ได้แก่ กลยุทธ์องค์กร โครงสร้างและการแข่งขัน การดำเนินงานหรือปัจจัยทางการผลิต อุปสงค์หรือ ความต้องการและรัฐบาล ตามลำดับ สำหรับกลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดของกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม พบว่า ผู้ประกอบการมีการใช้กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดของกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ด้วยวิธีการส่งออกและการเลือกลงทุนโดยตรงในต่างประเทศด้วยเงินลงทุนของกิจการโดยกิจการเป็นเจ้าของ 100% ในระดับปานกลางโดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการเข้าสู่ตลาดของกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ดังนี้ คือ ปัจจัยการดำเนินการหรือปัจจัยทางการผลิต อุปสงค์หรือความต้องการ เหตุสุดวิสัยหรือโอกาส อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องและอุตสาหกรรมสนับสนุนรัฐบาล ตามลำดับ ปัญหาอุปสรรคในประเทศนั้นๆ มีปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองกฎหมายและกฎระเบียบอยู่เสมอๆ เป็นปัญหามากที่สุด มีระดับของปัญหาในระดับปานกลาง ส่วนประเด็นในประเทศนั้น ๆ มีมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs)         This research aimed 1) to study the key success factor of Thai SMEs entrepreneurs, 2) to study to enter into the markets of Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam or CLMV countries group, 3) to study on problems, obstacles, and suggestions. The populations used in this study were the listed export entrepreneurs in the Department of International Trade Promotion. The sample group used in this study was 400 of listed export entrepreneurs in the Department of International Trade Promotion. Convenience sampling was the method used and questionnaire was the tool for data collection. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, average and standard deviation while the researcher conducted the Correlation analysis and Multiple Regression Analysis. It was found from the research results that most of the entrepreneurs conducted the business for 1-15 years with not more than 30 million baht of investment values and about 1-50 employees. Mostly, they ran the businesses in trading and retail sector, food and beverage industry sector and mining industry sector. The factors correlated for the success of Thai SMEs entrepreneurs were the organization strategy, structure and competition, the operation or production factors, demand and government respectively. For the strategy to enter into the markets of CLMV countries, it was found that the entrepreneurs used the strategy to enter into the market of CLMV countries by exporting and direct investment overseas by 100% of investment capital from the entrepreneurs at the moderate level. The key success factors of Thai SMEs entrepreneurs with the influences in their entering into the market of CLMV countries were shown as follows: operational factor or production factor, demand force or opportunity related industries and supporting industries and government respectively. Problems and obstacles are law changing, political changing and also regulations. There are some trade protections which are not NTBs.

Downloads