การนับอายุความร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้ กรณีผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ
Keywords:
บุคคล, ผู้หย่อนความสามารถ, ผู้มีอำนาจจัดการแทน, การนับอายุความร้องทุกข์Abstract
การนับอายุความร้องทุกข์ในคดีความผิดอันยอมความได้ อายุความ 3 เดือน เริ่มนับเมื่อผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ดังนั้น ผู้เสียหายทุกคนจะต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องคดีด้วยตนเองให้ทันภายในระยะเวลา 3 เดือน มิฉะนั้นจะหมดสิทธิที่จะดำเนินคดีทางอาญาเอากับผู้กระทำความผิด ปัญหาจึงเกิดขึ้นเมื่อผู้เสียหายเป็นบุคคล ผู้หย่อนความสามารถ คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งบุคคลดังกล่าวอาจเกรงกลัวไม่กล้าบอกผู้ใดเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการร้องทุกข์ หรือไม่สามารถไปร้องทุกข์ด้วยปัญหาจากสภาพร่างกายหรือจิตใจ ทำให้ไม่สามารถร้องทุกข์ได้ทันในกำหนดอายุความ แม้กฎหมายของประเทศไทยจะมีการคุ้มครองบุคคลผู้หย่อนความสามารถไว้โดยให้ผู้มีอำนาจจัดการแทน คือ ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล และผู้แทนเฉพาะคดีของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนวิกลจริต สามารถร้องทุกข์แทนได้ แต่หากผู้มีอำนาจจัดการแทนมารู้เรื่อง ในภายหลังจนล่วงเลยระยะเวลา 3 เดือนนับแต่ผู้หย่อนความสามารถรู้ ก็ไม่มีสิทธิร้องทุกข์ได้อีกเพราะขาดอายุความแล้ว ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และญี่ปุ่น มีการบัญญัติเรื่องอายุความของบุคคลผู้หย่อนความสามารถไว้แตกต่างจากบุคคลซึ่งมีความสามารถเต็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่น กำหนดให้การนับระยะเวลาซึ่งต้องร้องทุกข์เริ่มนับแต่ผู้แทนตามกฎหมายรู้การกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด โดยผู้แทนตามกฎหมายคือ ผู้แทนตามกฎหมายทุกประเภทที่มีอำนาจในการปกครองดูแลบุคคลผู้หย่อนความสามารถ การบัญญัติกฎหมายในเรื่อง การนับอายุความร้องทุกข์ของต่างประเทศจึงสามารถคุ้มครองบุคคลผู้หย่อนความสามารถได้มากกว่าประเทศไทย ดังนั้น จึงควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 โดยเพิ่มเติมวรรคสอง ให้ในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นบุคคลผู้หย่อนความสามารถ ให้อายุความร้องทุกข์เริ่มนับเมื่อผู้มีอำนาจจัดแทนผู้เสียหายรู้การกระทำและรู้ตัวผู้กระทำความผิด และในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) และมาตรา 6 โดยเพิ่มเติมให้ผู้มีอำนาจจัดการแทนรวมถึงผู้พิทักษ์และผู้แทนเฉพาะคดีของคนเสมือนไร้ความสามารถซึ่งมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบด้วย เพื่อให้มีการคุ้มครองบุคคลผู้หย่อนความ สามารถทุกประเภทได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น The prescription for making a complaint in the compoundable offense has 3-month period as from the date on which the injured person has known the offender. As a result, every injured person shall make the complaint or enter the action within a period of 3 months; or else, he/she shall lose his/her right to conduct criminal proceedings against the offender. The problem is that the injured person who is the person with lack of ability, namely, minor, incompetent person, and quasi-incompetent person may be afraid of notifying and dare not to notify any person of the offense or may not have knowledge and understanding about making the complaint or cannot make the complaint as a result of the problems on physical or mental conditions causing inability to make the compliant in time within the period of prescription. Even though laws of Thailand protect the persons with lack of abilities by providing the persons having power to take action on their behalf, namely, legal representative, guardian, and representative ad litem of the minor, incompetent person, and quasi-incompetent person can make the compliant in lieu of them. However, the persons having power to take action on their behalf who had just known after a period of 3 months as from the date on which the person with lack of ability has known thereof are no longer entitled to make the complaint due to the fact that the prescription has been precluded. Meanwhile, in the United States of America, Germany, and Japan provide the prescription for the persons with lack of ability as different from full competent persons, in particular Germany and Japan, providing that the prescription for making the complaint shall be counted as from the date on which the representatives under law know the offense and know the offender, whereby the representatives under law are all categories of the representatives under law having the power to guard and take care of the persons with lack of ability. In consequence, the provision of laws on counting prescription of the foreign countries can protect the persons with lack of ability better than those in Thailand. Hence, Section 96 of the Penal Code ought to be revised by adding paragraph two in the case where the prescription for making the complaint of the injured persons who are the persons with lack of ability shall be counted as from the date on which the persons having the power to take action on their behalf know the offense and know the offender; and the persons having the power to take action on their behalf, inclusive of the curator and representative ad litem of the quasi-incompetent persons, with infirmity in body or imbecile should be added in Section 5(1) and Section 6 of the Criminal Procedure Code so as to protect every category of persons with lack of ability as more appropriate and just.Downloads
Issue
Section
Articles