การพัฒนาแนวทางบริหารจัดการชุมชน แบบมีส่วนร่วม เพื่อรองรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีอัตลักษณ์ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านมุสลิม

Authors

  • พิทักษ์ ศิริวงศ์
  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • จิตพนธ์ ชุมเกตุ
  • สุรภัทร์ พิไชยแพทย์
  • ธนพัฒน์ อินทวี

Keywords:

การพัฒนา, แนวทางบริหาร, การจัดการชุมชน, การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร, อัตลักษณ์, หมู่บ้านมุสลิม

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพโดยทั่วไป และประเมินศักยภาพในการจัดการชุมชน ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม ศึกษาแนวทางจัดตั้งศูนย์บริหาร การจัดการชุมชน พัฒนาระบบสารสนเทศของศูนย์บริหารการจัดการชุมชน ตลอดจนพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีอัตลักษณ์ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านมุสลิม โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ที่ใช้การวิจัยในเชิงคุณภาพนำร่อง เพื่อค้นหาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ชุมชนหมู่บ้านมุสลิมจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน          ผลการศึกษาพบว่า หมู่บ้านมุสลิมมีความเป็นเอกลักษณ์ทางด้านศาสนาและวิถีชีวิตซึ่งเป็นชุมชนที่ยึดอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพปศุสัตว์เป็นหลัก โดยใช้พื้นที่เกษตรและปศุสัตว์เดียวกับพื้นที่อยู่อาศัยที่มีการทำการเกษตรโดยการเลี้ยงแพะ เลี้ยงโค และมีระบบฟาร์ม เป็นชุมชนการเกษตรที่สมบูรณ์ อันมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นอย่างดี จึงเกิดเป็นแนวคิดการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีอัตลักษณ์ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านมุสลิม เพื่อให้การดำเนินงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรประสบความสำเร็จ ได้มีแนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมเพื่อจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นชุมชนมุสลิมด้วยการถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยผ่านผู้นำชุมชน จากนั้นจึงให้ผู้นำชุมชนนำข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานวิจัยไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในหมู่บ้าน ตลอดจนการจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธ์กับประชาชนในชุมชน สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศของศูนย์บริหารการจัดการได้มีแนวทางในการทำป้ายสื่อความหมายเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ตามจุดต่างๆ การทำอินโฟกราฟฟิก (Info graphic) คิวอาร์โค้ด (QR code) การจัดทำเว็บไซต์ (Website) หรือ เฟซบุ๊คแฟนเพจ (Facebook Fanpage) ของชุมชน ไว้สำหรับบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และเพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนและแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนได้มีการพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีอัตลักษณ์ในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านมุสลิม ด้วยการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์           This research aims to study on general condition of community, to evaluate the potential on community management, to study on guidelines on participatory community management, to study on the guidelines for establishing community management center, to develop information system of community management center, and to develop business plan for managing agro-tourism attractions with identity in Muslim community. This research is a Participatory Action Research (PAR) using qualitative research as the pioneer in order to discover knowledge related to Huay Sai Royal Development Study Center and Muslim village based on participation of various sectors in community.          The results indicated that the Muslim village that their village had identity on religion and way of life, whereas, it is the community holding agriculture and livestock as their main occupations and their residential areas were also the same areas of agriculture and livestock for breeding goats, cows, and did farming that could be considered as the complete agricultural community with infrastructure facilitating agro-tourism. Consequently, the idea of developing agro-tourism routes with identity in Muslim village was created. To achieve the operation on agro-tourism attractions development, the guidelines on management was created in order to enable community to participate in agro-tourism attractions development with identity in Muslim village through passing on information related to research conducting to community leader. Subsequently, community leader was asked to pass on such information to villagers and some activities for building relationship with villages were also held. For information system development of the community management center, some signboards were made as the learning media for locating at various destinations. In addition, Info graphic QR code, Website or Facebook Fanpage of community were also created for providing community’s tourism information. Moreover, it also helped to build sustainability while solving the problem on poverty. Business plan for managing agro-tourism attractions with identity in Muslim village was developed by establishing a community enterprise for tourism with identity.

Downloads