แบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ของการบุกรุกที่ดินราชพัสดุ

Authors

  • สิริฉัตร ภู่ภักดี
  • พันธ์ทิพย์ จงโกรย
  • รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ

Keywords:

แบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่, การบุกรุก, ที่ดินราชพัสดุ, จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดราชบุรี, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Abstract

          บทความวิจัยนี้ เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์แบบรูปการกระจายเชิงพื้นที่ของการบุกรุกที่ดินราชพัสดุ โดยมีการวิเคราะห์ใน 2 ระดับ คือ ระดับภาคและระดับจังหวัด ซึ่งเลือกจังหวัดกาญจนบุรีเป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากพบการบุกรุกมากที่สุดทั้งในด้านของขนาดพื้นที่และจำนวนผู้บุกรุก งานวิจัยเชิงคุณภาพในส่วนนี้ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา          ผลการวิจัยพบว่า มีการบุกรุกที่ดินราชพัสดุในประเทศไทยมากถึง 1,066,776 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.5 ของที่ราชพัสดุทั่วประเทศ (12,500,000 ไร่) โดยพบการบุกรุกมากที่สุดในส่วนของพื้นที่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ของกองทัพบก รูปแบบของการบุกรุกที่ดินราชพัสดุ เป็นการบุกรุกเพื่อการทำการเกษตรเป็นหลัก ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เป็นการบุกรุกเพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น โดยเป็นการครอบครองที่ดินแปลงขนาดเล็กมาก (โดยเฉลี่ย 10.44 ไร่ต่อครัวเรือน) เมื่อพิจารณารูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่ พบว่าการบุกรุกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.24 ของพื้นที่บุกรุกทั้งประเทศ) พบในภาคตะวันตก โดยกระจุกตัวอยู่เฉพาะใน 3 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ส่วนภาคอื่น ๆ พบกระจายอยู่ในทุกจังหวัดในแต่ละภาค          ในส่วนของจังหวัดกาญจนบุรี พบการบุกรุกกระจุกตัวในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมทวนที่พบการบุกรุกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.4 ของพื้นที่บุกรุกทั้งจังหวัด เนื่องจากมีพื้นที่เขตทหารที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่เป็นบริเวณกว้าง รองลงมาพบในเขตอำเภอท่าม่วง ห้วยกระเจา บ่อพลอย และอำเภอเมืองกาญจนบุรี ที่พบการบุกรุก ร้อยละ 17.1 14.2 10.9 และ 5.4 ตามลำดับ โดยเป็นการบุกรุกในที่ดินแปลงขนาดเล็กมาก (เฉลี่ย 1.77 ไร่ต่อครัวเรือน) ทั้งนี้ในพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองสูงที่สุด มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำการเกษตรและการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย คือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี พบว่า มีความหนาแน่นของครัวเรือนผู้บุกรุกสูงที่สุด           This article presents findings from a research results on the analysis of spatial distribution patterns of the intrusion to state property land. The analysis was based on two levels, regional and provincial. At provincial level, Kanchanaburi was selected to be the study area as it was most intruded province both in terms of area and number of intruders. This qualitative research applied documentary research technique and in-depth interviews with key informants who were the representatives from the organizations occupying state property land. Descriptive statistics and content analysis were used for analyzing data.          The research results revealed that the state property lands in Thailand has been intruded up to 1,066,776 rai or about 8.5 percent of the overall state property lands (12,500,000 rai). The intrusions were found mainly in the unused lands belonged to the Royal Thai Army. Intruded lands were mainly used for agricultural purposes. Except Bangkok Metropolitan Region which was the only region that most of the intruded lands were used for residential purposes. In terms of plot size, it was indicated that most of intruders occupied a very small plot size (10.44 rai per household by average). Regarding the spatial distribution patterns, it was pointed out that most of the intruded areas (63.24 percent of the overall intrusion) were found in western region. Unlike other regions that the intrusion was scattered in every province, the intrusion in the western region was concentrated only in 3 provinces; Kanchanaburi, Ratchaburi and Prachuabkirikhan.          At the provincial level, it was highlighted that the intrusion was concentrated only in the five districts closest to the center of Kanchanaburi province. More than half of the intrusions in the province (52.4 percent) were found in Phanom Thuan district. Subsequently, the intrusions were found in Tha Muang, Huai Krachao, Bo Phoi, and Muang Kanchanaburi district (by 17.1 14.2 10.9 and 5.4 percent, respectively). Most of the invasions in the province were found in a very small plot (1.77 rai per household by average). And Muang Kanchanaburi - the most urbanized district that lied along a river basin with fertile soil which made it suitable for cultivation and residing, accommodated land intruders with highest density.

Downloads