กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายไทยกับความเป็นมาตรฐานสากล
Keywords:
การก่อการร้ายระหว่างประเทศ, กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย, มาตรฐานสากล, ผู้ก่อการร้ายAbstract
คำว่า "การก่อการร้าย" (Terrorism) และ “ผู้ก่อการร้าย” (Terrorist) เกิดขึ้นครั้งแรกจากเหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส (ปี ค.ศ. 1793 - 1794) หรือ “ยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of terror) มีความหมายไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับมุมมอง การตีความ การก่อการร้ายถือเป็นอาชญากรรมที่มีความร้ายแรงขั้นสูงสุดจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสม ได้สัดส่วนครอบคลุม ทุกฐานความผิดจำแนกได้ 2 ประเภท คือ กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายภายในประเทศ กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ได้แก่ อนุสัญญา (Conventions) และพิธีสาร (Protocols) มีจำนวน 19 ฉบับ และมีผลบังคับใช้แล้ว 16 ฉบับ โดยสำนักงานว่าด้วย ยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNDP) ได้รวบรวมกฎหมายทั้ง 16 ฉบับ และจัดทำเป็นต้นแบบกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย (Model Legislative Provisions against Terrorism) เพื่อให้ประเทศต่างๆ นำไปใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายภายในของประเทศตนตามมาตรฐานสากล กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายภายในประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายสหรัฐว่าด้วยการก่อการร้าย (U.S. Code Title 18 Part I Chapter 113B – Terrorism) พระราชบัญญัติป้องกันการก่อการร้ายและมาตรการสืบสวนสอบสวน ค.ศ. 2005 (The Terrorism Prevention and Investigation Measures Act, 2011) แห่งสหราชอาณาจักร (United Kingdom) หรือประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย ได้แก่ มาตรา 135/1 – มาตรา 135/4 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติว่าด้วยผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559 (Terrorism and Proliferation of Weapons of Mass Destruction Financing Act of 2559 B.E.) เป็นต้น จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายของประเทศไทยกับกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรฐานสากลพบว่ามีความแตกต่างกันบ้างทั้งในส่วนเนื้อหา คำนิยาม ฐานความผิด เขตอำนาจศาล การส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition) ตลอดจนความร่วมมือทางอาญาด้านต่างๆ (Mutual Assistance in Criminal Matters) อันอาจเป็นปัญหาและอุปสรรค ความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านการก่อการร้าย ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรบัญญัติกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายตามแนวทางมาตรฐานสากล The words of “Terrorism” and “Terrorist” were appeared initially from the French revolution (1793-1794) or the “Reign of Terror” that has uncertain meaning depends on public perception and interpretation. Terrorism is regarded as a crime par-excellence; therefore, efficient and proper laws need to be enacted for proportional coverage of all offences. Laws related to terrorism can be divided into 2 types as international counter-terrorism law and domestic counter-terrorism law. The international counter-terrorism convention is in form of conventions and protocols; 19 of them are enacted, whereas 16 are enforced already. United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) gather all of 16 laws and also make them as model legislative provisions against terrorism to provide countries with guidelines for enacting their laws to be in line with universal standard. The domestic counter-terrorism law is such as U.S. Code Title 18 Part I Chapter113B–Terrorism and the Prevention of Terrorism Act 2005 of United Kingdom. For Thailand, there are Section 135/1–135/4 of the Penal Code, Anti-money Laundering Act B.E. 2542 (1999), Act on Certain Offence against Air Navigation B.E. 2558 (2015), Terrorism and Proliferation of Weapons of Mass Destruction Financing Act B.E. 2559 (2016) and etc. The comparison of domestic counter-terrorism laws of Thailand and international counter-terrorism conventions in accordance with universal standard found that there are differences in content, definition, offence and jurisdiction. These may be a problem and obstacle on terrorist prosecution, extradition and international cooperation in criminal matters; that is significant principle of international counter-terrorism. Hence, Thailand should enact the counter-terrorism laws in accordance with international standard.Downloads
Issue
Section
Articles