มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเหยื่อจากความรุนแรงในครอบครัวศึกษากรณีการคุกคามติดตาม ทางอินเทอร์เน็ต (Cyberstalking) ในกฎหมายต่างประเทศ

Authors

  • รัชนี แตงอ่อน
  • จิรวัธ ศิริศักดิ์สมบูรณ์

Keywords:

การคุกคามติดตามทางอินเทอร์เน็ต, Cyberstalking, กฎหมายต่างประเทศ, ความรุนแรงในครอบครัว

Abstract

          บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเหยื่อจาก ความรุนแรงในครอบครัว ศึกษากรณีการคุกคามติดตามทางอินเทอร์เน็ต (Cyberstalking) ในกฎหมายต่างประเทศ โดยศึกษาความหมาย แนวคิดทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับ Cyberstalking ที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว (Domestic violence) โดยเฉพาะผู้ถูกกระทำเป็นผู้หญิง ทั้งหลักสิทธิความคุ้มครองผู้หญิงระดับสากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ของประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวความผิดทางอาญาเรื่อง Cyberstalking และความรุนแรงในครอบครัวตามกฎหมายประเทศไทยศึกษาเทียบกฎหมายของต่างประเทศ จนได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายหรือมาตรการในการดำเนินการคดีความรุนแรงในครอบครัวที่เหมาะสมกับสภาพสังคมในยุคเทคโนโลยี 4.0 ของประเทศไทย          การวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยแบบค้นคว้าทางเอกสาร (Documentary research) โดยการศึกษากฎหมายของประเทศไทยรวมทั้งกฎหมายต่างประเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คำพิพากษาฎีกาของศาลฎีกา วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ Cyberstalking          ผลการวิจัย พบว่า ประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติ Cyberstalking ในประมวลกฎหมายอาญาเหมือนอย่างเช่นกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำในลักษณะคุกคามติดตามที่ใช้เทคโนโลยี เข้ามามีส่วนช่วยในการกระทำความผิด ปัญหาประการที่สองคือ กรณีเกิด Cyberstalking ระหว่างสามีภริยา คู่รัก บุคคลในครอบครัวในสังคมไทย ด้วยเหตุที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของนิยามของความรุนแรงในครอบครัวและบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับ Cyberstalking ที่กระทำต่อเหยื่อและจากงานวิจัยเหยื่อจะเป็นผู้หญิงเสียเป็นส่วนมาก ปัญหาคือ แค่ไหน เพียงใดที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่จิตใจ หรืออารมณ์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสามีติดตามคุกคามทางอินเทอร์เน็ต (Cyberstalking) ภริยาโดยสามีติดระบบแผนที่นำทาง (GPS) หรือกล้องติดตาม (Spy Camera) ทำให้ภริยาเกิดความกลัวและทำหลายครั้งติดต่อกัน ทำให้เกิดอาการตกใจ หลอน ระแวงตลอดทำให้บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่นนี้ถือเป็นความรุนแรงในครอบครัวรูปแบบหนึ่งในกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งกรณีการให้คำนิยามคำว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” ของประเทศไทยมีนักวิชาการมีความเห็นว่า เป็นการให้คำนิยามที่กว้างเกินไป ไม่ชัดเจนลักษณะตัวอย่างของการกระทำก่อให้เกิดปัญหาในการตีความและการบังคับใช้กฎหมายเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Cyberstalking ได้          ผู้วิจัยได้บทสรุป คือ การกระทำในลักษณะ Cyberstalking ส่งผลกระทบต่อบุคคลในสังคมที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวันของบุคคล ซึ่งทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่เพียงความรุนแรงทางกายภาพต่อผู้ถูกกระทำที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น การกระทำลักษณะ Cyberstalking เป็นการกระทำให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินในรูปแบบของการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมืออันมีผลกระทบต่อความปลอดภัยและสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลเช่นกัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีกฎหมายบังคับใช้เกี่ยวกับ Cyberstalking ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับโทษทางอาญาในประมวลกฎหมายอาญา ในหมวดความผิดต่อเสรีภาพและมีโทษทางอาญา หากเป็นการกระทำซ้ำๆ มากกว่าสองครั้ง เหมือนอย่างเช่น กฎหมาย มลรัฐแคลิฟอร์เนียและกฎหมายของประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย และกรณีที่ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ หรือกรณีที่เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำผิด Cyberstalking ต้องได้รับโทษสูงขึ้นอย่างเช่นกฎหมายอาญาของประเทศเยอรมัน นอกจากนี้ ยังเห็นว่าควรมีการเพิ่มนิยามคำว่า Cyberstalking ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงในครอบครัว และคำว่า บุคคลในครอบครัวให้หมายความรวมถึง คู่รักเพศเดียวกันด้วย เข้าไปในนิยามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัว พ.ศ. 2550 เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายใหม่เกี่ยวกับ Cyberstalking ให้เกิดความชัดเจน เพื่อนำไปสู่การพัฒนากฎหมายให้ทันกับยุคแห่งความทันสมัยของเทคโนโลยีทั้งการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของเหยื่อที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว ให้ได้รับการคุ้มครองและอันเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ           This research article is aimed to study legal measures to protect victims of domestic violence in terms of cyberstalking in foreign laws by studying the definitions, theories, legal principles, the principles of the protection of women as victims and relevant Thai and foreign laws. Legal issues regarding criminal offenses of cyberstalking and domestic violence between Thai and foreign laws were analyzed in form of comparative studies in order to achieve findings and legal solutions to revise laws and legislative measures which should be in accordance with Thailand 4.0          This research is a qualitative research based on documentary research by studying Thai and foreign laws, relevant laws, judgments of the Supreme Court, theses and articles in relation to cyberstalking.          The findings reveal that there is no provision regarding cyberstalking in Thai Criminal Code whereas the law of the United States, Australia and Germany prohibit the use of technology to assist in the offense. Moreover, in case of cyberstalking between spouses, couples or among family members, the definition of ‘domestic violence’ and ‘family members’ in Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 (2007) are vague, particularly the offense in the form of cyber stalking against victims most of who are female according to researches. Another legal issue is which level of harm gives an influence to mind or emotions; for instance, providing a husband repeatedly cyberstalks his wife by tracking her GPS or using a spy camera, the wife may be scared and panic which causes hallucinations and lead to personality changes, which is a form of domestic violence in foreign laws. The definition of “domestic violence” in Thai law has been criticized by scholars that it is too broad and vague; therefore, it creates legal problems in terms of interpretation and enforcement when cyberstalking occurs.          In conclusion, cyberstalking gives an impact on individuals in the society where technology plays an important role. It causes new forms of domestic violence which is not only physical violence against female victims but also creation of fear which damages the victims’ life, body and property when the internet is used as a tool and impairs their right to security and privacy. Since the law regarding cyberstalking in Thailand is necessary to be revised and enforced, it is suggested that there should be an amendment with additional provisions on criminal penalties in Thai Criminal Code in the offenses against freedom and criminal penalties section, as in California State law and Australian law, if more than two acts are repeatedly committed. Moreover, according to German criminal law, the penalties should be more severe providing the act of cyberstalking causes physical and mental harm or death to the victim. In addition, “cyberstalking” should be defined as a form of domestic violence including homosexual couples and added in Article 3 in Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 (2007) as a clear guideline for further development and enactment of cyberstalking law in the age of technology in terms of the protection of victims’ personal rights as recognized by several States.

Downloads