การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจบริการทางสังคม สำหรับผู้สูงอายุวัยต้น
Keywords:
เทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้สูงอายุ, การบริการทางสังคมAbstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับความสำคัญของธุรกิจบริการทางสังคมของผู้สูงอายุวัยต้น ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุวัยต้นที่มีผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจบริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุวัยต้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุวัยต้นที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปี และมีภูมิลำเนาอยู่ทั่วประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งโควต้าตามภาค 5 ภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Samples t-test, One Way ANOVA, LSD และ Multiple Linear Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นเจ้าของที่พักอาศัย ดำรงชีวิตโดยมีลูกหลานหรือญาติพี่น้องดูแล อาชีพก่อนเกษียณเป็นข้าราชการ แหล่งของรายได้หลังเกษียณมาจากบำเหน็จบำนาญราชการ/ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนหลังเกษียณอยู่ระหว่าง 15,001-25,000 บาท เทคโนโลยีสารสนเทศเรียงตามลำดับความสำคัญ คือ ระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่น และฮาร์ดแวร์ ธุรกิจบริการทางสังคมของผู้สูงอายุวัยต้นด้านการท่องเที่ยว การสื่อสาร และการดำรงชีวิต มีความสำคัญในระดับมาก The objectives of this research were to study 1) level of importances of social service business for early elders, 2) personal factors of early elders that affected information technology usage, and 3) information technology usage that influenced social service business for early elders. This research was a survey research and the sample group was 400 early elders age 60-69 years old who resided in Thailand. The questionnaires were the research tool used to collect data using Quota Sampling Method. Data were collected from five different regions in Thailand, which were central, northern, southern, eastern, northeastern regions. Statistics used to analyze data were descriptive statistics including percentages, frequencies, means, and standard deviation; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, LSD, and Multiple Linear Regression at the statistical significance level of 0.05. The research results found that most of the respondents were males, married, Bachelors’ degree of educational level, own their home, living by taking care of descendant, government employee before retirement, source of income from the government pension fund, 15,001-25,500 Baht of monthly expense. Information technology sorted by level of importance were network system, application and hardware. Social service business in the aspect of traveling, communication and living were in the level of high importance. The hypothesis results demonstrated that educational level, hometown, and early elder’s career effected the usage of social service business in total aspects. The usage of information technology in the aspect of application and network system influenced social service business in traveling, communication, living, and total aspect with 38.50% of ability to predict and the multiple regression coefficient value (R) was 0.623.Downloads
Issue
Section
Articles