การจัดการคลัสเตอร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Keywords:
การจัดการคลัสเตอร์, การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, เศรษฐกิจพอเพียงAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ ต้องการสร้างโมเดลที่เหมาะสมในการจัดการคลัสเตอร์การท่องเที่ยว โดยชุมชนที่สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร ประกอบด้วยการสำรวจแนวคิดทฤษฎีและรายงานผลการวิจัยเชิงประจักษ์ ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดคลัสเตอร์ของ Michael E. Porter มีประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้สำหรับการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน แต่การท่องเที่ยวที่เน้นการเติบโตของนักท่องเที่ยวดังกล่าวมีจุดอ่อน เนื่องจากส่งผลกระทบเชิงลบต่อชุมชน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการคลัสเตอร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน The purpose of this article is to create an appropriate model of community-based tourism (CBT) management in accordance with the sufficiency economy philosophy (SEP). The documentary research is utilized consisting of theoretical approaches and empirical research reports. The study finds that Michael E. Porter’s cluster approach is useful for managing CBT in order that its competitive advantages can be obtained. However, the mass tourism emphasizing the growth of tourists faces the problems of negative impacts on communities. As a result, it is necessary to utilize SEP for balanced and sustainable developmentDownloads
Issue
Section
Articles