การพัฒนาธรรมนูญพลเมืองสู่ชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี จังหวัดบุรีรัมย์
Keywords:
ธรรมนูญพลเมือง, ชุมชนที่เข้มแข็ง, ธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี, จังหวัดบุรีรัมย์Abstract
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาธรรมนูญพลเมืองสู่ชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษารูปแบบ วิธีการจัดทำธรรมนูญพลเมืองสู่ชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน (2) ระบุปัจจัยความสำเร็จในการจัดทำธรรมนูญพลเมืองชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฎิบัติเพื่อการพัฒนาธรรมนูญพลเมืองที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนแก่ชุมชนต่างๆ ของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษารูปแบบ วิธีการจัดทำธรรมนูญพลเมืองสู่ชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยการวิเคราะห์เอกสารและวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ (2) วิเคราะห์เพื่อระบุปัจจัยความสำเร็จในการจัดทำธรรมนูญพลเมืองชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและเนื้อหาการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการจัดทำธรรมนูญพลเมือง รวมทั้งการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (3) ดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงนโยบายเพื่อได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาธรรมนูญพลเมืองที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนแก่ชุมชนต่างๆ ของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบธรรมนูญพลเมืองของจังหวัดบุรีรัมย์ เรียกว่า “ธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี” ได้นำแนวคิดมาจากคำสอนในพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ ประยุกต์เข้าด้วยกันโดยเฉพาะหลักคิดในเรื่อง “ทำดี ละชั่ว กลัวบาป” และได้รับอิทธิพลจากแนวคิดประชาสังคม และประชาธิปไตยทางตรง โดยมุ่งเน้นการนำไปปฏิบัติได้จริง 2 ระดับ ทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กรมีการให้สัตยาบันกันในหมู่บ้านเพื่อการอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข สำหรับปัจจัยความสำเร็จในการจัดทำธรรมนูญพลเมืองของชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พบว่า ปัจจัยด้านผู้นำและปัจจัยด้านคณะกรรมการหมู่บ้าน มีบทบาทสำคัญมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยด้านความศรัทธาเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีส่วนสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ ส่วนแนวทางการพัฒนาการจัดทำธรรมนูญพลเมืองเพื่อนำไปสู่ชุมชนต่างๆ ของประเทศไทย รัฐบาลต้องส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการหมู่บ้าน โดยเพิ่มบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านเกี่ยวกับการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญพลเมืองทุกพื้นที่ในประเทศไทย ชุมชนต้องสร้างจิตสำนึกและพฤติกรรม ทำดี ละชั่ว กลัวบาป ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนา นั้นคือ “เป็นคนดี” โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบคอยกำกับดูแลเพื่อให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน This research “Development of The rural constitution for Sustainable Strength Community: A case study of The rural constitution 9 D of Buriram Province” aims to 1) study the process and method to create The rural constitution for community’s sustainability 2) identify the Key Success Factor for the success of citizen constitution for community’s sustainability 3) study and propose policy recommendation of citizen constitution for community’s sustainability for other Thai communities. This research applies qualitative research methods comprise of in-depth interview, focus group discussion from key actors also include workshop seminar and policy meeting to ensure that the research has accurate and best information for further policy recommendation of citizen constitution for community’s sustainability for other Thai communities. The research illustrates that Buriram Model of citizen’s constitution called “Thammanull Mhoo Ban Santisuk Kual Dee” applies Budish Religion believe and other religion to conduct the principle of “conduct good deed prevent bad doing and afraid of sin” and also influenced by Civil Society and Direct Democracy principle. Furthermore, the constitution emphasize on 2 level implementation, individual level and organizational level, base on, community trust and independent sustainable local community. According to the research finding. It shows that the key success factor of this constitution based on strong leadership of village committee, the trust from the village’s citizen to their leader and also citizen participation. For the recommendation, the research suggest that Thai government have to promote the constitution to improve community empowerment for community sustainability by empower village committee. Therefore, the committee will act as a change agent to lead the application and implementation of citizen constitution for community’s sustainability for other Thai communities. Besides each Thai local community must generate the good will and collective public interest to their citizen to be a good citizen. Both good quality citizen and strong village committee will be the power house to develop the citizen constitution for community’s sustainability for every Thai communities.Downloads
Issue
Section
Articles