การบริหารจัดการเมืองเศรษฐกิจชายแดน : เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว

Authors

  • อาภาพร น่วมถนอม

Keywords:

การบริหารจัดการภาครัฐ, เมืองเศรษฐกิจชายแดน, เขตเศรษฐกิจพิเศษ

Abstract

          งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการภาครัฐในการขับเคลื่อนพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รวมทั้งวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดในการจัดการเมืองเศรษฐกิจชายแดน โดยเลือกกรณีศึกษาพื้นที่ชายแดนจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ ที่ได้รับการขับเคลื่อนสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้วทั้งจากหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน          จากการศึกษาพบว่า นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสระแก้วเป็นนโยบายของรัฐบาลส่วนกลางที่ใช้โอกาสจากศักยภาพที่มีอยู่เดิมของพื้นที่เมืองชายแดนมากำหนดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อต่อยอดโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไป ซึ่งการขับเคลื่อนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการส่งเสริมการลงทุนผ่านการตั้งนิคมอุตสาหกรรม และการเพิ่มศักยภาพในพื้นที่ โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพ เช่น ด่านศุลกากร การคมนาคม เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนดังกล่าว ยังขาดการวางแผนและพัฒนาในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานด้านสังคม เช่น เรื่องประชากรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เรื่องการศึกษา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่อยู่อาศัย ฯลฯ อันเป็นผลที่จะตามมาภายหลังการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรม นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนยังมีส่วนร่วมน้อย และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษยังขาดหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักในการบริหารจัดการพื้นที่และแก้ปัญหาในพื้นที่           This qualitative research explores the role of government management in pushing forward the special border economic zone, as well as analyzes opportunities and challenges of management of border economic town. The selected area of study is the border area of Sa-kaew province, which is one of the border areas that are promoted to special economic zone of Thailand. Data was collected from field research and in-depth interviews with key informants who related to the implementation of Special Economic Zone policy in Sa-kaew such as central, regional, and local authorities, private sectors, and civil society.          The study found that the special economic zone policy implemented in Sa-kaew border was formulated by the central government. The policy considered the existing potentials of each border town as criteria, in selection of the special economic zone and in order to enhance the economic opportunities. The implementation in the area mainly focused on investment promotion, through industrial estates establishment and through potentials empowerment by constructing physical infrastructure to support the estates such as customs checkpoint and transportation.           However, the policy implementation still lacks planning and development in social infrastructure. The upcoming issues from industrial estates are still left unaddressed, such as increasing population, education issues, environment issues and housing issues, etc. In addition, the participation from local administrative organization and civil society is still low. The special economic zone also lacks the main authority to manage and solve the issues.

Downloads