เกาะกก ต้นแบบชุมชนเชิงนิเวศรักษ์สิ่งแวดล้อม
Keywords:
ชุมชนเชิงนิเวศ, สิ่งแวดล้อม, ความยั่งยืนAbstract
สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน นับว่ามีความน่ากังวลเนื่องจากฐาน ทรัพยากรธรรมชาติลดลงและเสื่อมโทรมไปมาก อันเกิดจากการใช้ประโยชน์เกินกว่าศักยภาพของทรัพยากร และจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้สร้างความตื่นตัวในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ได้กระตุ้นให้หลายภาคส่วน เกิดความตระหนักที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังเช่น ชุมชนเกาะกก ที่เป็นต้นแบบชุมชนเชิงนิเวศ รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาแนวคิดการจัดการในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาเป็นเมือง อุตสาหกรรม เชิงนิเวศ ซึ่งมุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับชุมชน ตามหลักการประสิทธิภาพ เชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบ แนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) มีลักษณะสำคัญ ได้แก่ ลดปริมาณขยะอินทรีย์ ลดปัญหามลพิษทางอากาศ ลดการใช้พลังงาน การบริหาร การจัดการน้ำ และที่สำคัญชุมชนมีการสร้างอาชีพ เกิดเป็นวิสาหกิจชุมชนสินค้าชุมชนที่ขึ้นชื่อและรู้จักอย่างกว้างขวาง ในการพัฒนาสินค้านวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม เช่น ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้องหอมนิล ข้าวกล้องสังข์หยด ข้าวหอมมะลิ เพิ่มมูลค่าข้าวโดยต่อยอดเป็นอาหารว่าง ยอดนิยม เป็นที่ยอมรับของตลาด เป็นผลผลิตที่เกิดจากการร่วมกันทำทั้งชุมชน Natural resources and environment situations are currently worried because of the resource depletion from overusing the potential of resources. Thus, the crisis mentioned before awoke to the environmental management that urge various segments to aware of the environment solutions as well as Koh Kok community which is eco-environmental community prototype that studies the idea of lively city along with the industry to develop the city to become eco-industry city which is focused on the harmony between community and industry that follow the eco-efficiency principle. The economy, social, and environment are balanced by this principle under the Sustainable Development idea that keep reducing organic waste, air pollution, energy usage, and also the water management as well. Importantly, community occupations are created to be the widely well-known community enterprise of eco-friendly innovative product development, for example, brown rice berry, Hom Nil brown rice, Sang Yod brown rice, and jasmine rice. These rice are processed to become the popular and market acceptable snacks for value added which make together by the whole community.Downloads
Issue
Section
Articles