การนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ : ศึกษาบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ผกาวดี เมืองมูล

Keywords:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, แรงงานต่างด้าว, บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติ ภายใต้ขอบเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methodology) การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 13 คน ประกอบด้วย ตัวแทนบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว ผู้ว่าจ้างแรงงานต่างด้าว เจ้าหน้าที่รัฐ และการวิจัยเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าว 400 คน ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า บริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว เป็นบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ว่าจ้างแรงงานและแรงงานต่างด้าว กลุ่มตัวอย่างแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 81.30 เคยใช้บริการบริษัท บทบาทของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว สามารถจำแนกได้ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการนำเข้าและขึ้นทะเบียนแรงงาน 2) ด้านการพัฒนาแรงงาน และ 3) ด้านการกำกับติดตามแรงงาน ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับในนโยบายของบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าว เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพราะบริษัทเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎระเบียบ วิธีการ และมีความสามารถในการเข้าถึงแรงงาน โดยมีผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นเงื่อนไขสำหรับการยอมรับนโยบาย สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวของการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวไปปฏิบัติมี 3 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) ด้านสมรรถนะองค์การ 2) ด้านประสิทธิภาพในการวางแผนและการควบคุม และ 3) ด้านการสื่อข้อความและประชาสัมพันธ์ จากผลการวิจัยข้างต้น นำไปสู่ข้อเสนอในการปรับระบบการบริหารแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ การพัฒนาเทคโนโลยีและการสื่อสาร สร้างระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยง การปราบปรามการทุจริต เข้มงวดกับบริษัทจัดหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการส่งเสริมบทบาทของบริษัทจัดหาแรงงาน ต่างด้าวในด้านการพัฒนาแรงงานสำหรับการเตรียมพร้อมแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มต้องการแรงงานประเภทดูแลผู้สูงอายุและเด็กสูงขึ้นในอนาคต           The purposes of this study were to examine 1) the role of employment arrangement service agency (EASA) for foreign labour policy implementation and 2) the success and failure factors for foreign labour policy implementation. This study used mixed methodology. The qualitative research is composed of 13 cases in-depth interview who representatives of EASA, foreign labour employer, and government official and the quantitative study collected questionnaire data from 400 foreign labours. The study area is in Chiang Mai province. The finding showed there are 81.30% of foreign labour have been used EASA service. The role of EASA has three main areas include: mporting and registering labour, labour-development, and labour- monitoring. These roles have promoted the progressive of foreign labour policy implementation. For this reason, the adoption of EASA of foreign labor policy became a success factor of foreign labour policy implementation. On the other hand, there are 3 factors that affected the failure of policy implementation; 1) organization competency, 2) effectiveness in planning and control, and 3) media and public relations. The results of this study lead to the proposal to re-organize the management system of foreign labour policy, develop the information and communication technology, create linked information systems, fight against corruption, monitoring illegal EASA, and promote the labour-development role of EASA in order to prepare labour for household sector (elderly and children care worker) which will be in required in the future.

Downloads