การฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติของชุมชน จังหวัดชายแดนภาคใต้

Authors

  • กรกฎ ทองขะโชค
  • เอกราช สุวรรณรัตน์
  • อภิวัฒน์ สมาธิ

Keywords:

ผู้กระทำความผิด, คุมประพฤติ, จังหวัดชายแดนภาคใต้

Abstract

          การวิจัยในนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์บทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติและเครือข่ายคุมประพฤติกับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด วิธีการศึกษาใช้วิธีเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติ อาสาสมัครคุมประพฤติ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สนทนากลุ่มเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ผู้ได้รับการฟื้นฟูโดยอยู่ระหว่างการคุมประพฤติ ผู้ที่ได้รับการสงเคราะห์หลังปล่อย และผู้ที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและสังเกตกระบวนการฟื้นฟูในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา          ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนโดยอาสาสมัครคุมประพฤติและเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ทำให้เกิดรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ๆ โดยอาสาสมัครคุมประพฤติซึ่งบางคนก็เป็นคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเครือข่ายยุติธรรมชุมชน รูปแบบดำเนินการทั้งเข้ารับการฝึกอบรมทางศาสนาในวัด มัสยิด และมีการทำงานบริการสังคมโดยเมื่อผู้กระทำความผิดสมัครใจในการเข้าทำงานบริการสังคม และในบางรายสมัครใจที่ขอฝึกอาชีพก็จะส่งไปฝึกหัดอาชีพกับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเลี้ยงสัตว์ อาสาสมัครคุมประพฤติ และเครือข่ายยุติธรรมชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผู้มีจิตสาธารณะ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือ การอุทิศเวลา ทำให้ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติได้เป็นจำนวนมาก โดยจะให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก คำนึงถึงชุมชนต้องการให้กลุ่มผู้ที่รอการลงโทษ ในส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจอาสาสมัครคุมประพฤติบางส่วนขาดกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ เพราะเกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้นทั้งด้านเงินและเวลาในการทำงาน ในส่วนอำนาจหน้าที่ของอาสาสมัครคุมประพฤติมีระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยอาสาสมัครคุมประฤติ พ.ศ. 2547 รองรับ แต่ในส่วนของเครือข่ายยุติธรรมชุมชนและหน่วยงานภาคีการฟื้นฟูผู้กระทำผิดยังไม่มีกฎหมายรองรับ จึงจำเป็นต้องบัญญัติพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชนรองรับอำนาจหน้าที่ของเครือข่ายยุติธรรมชุมชนและหน่วยงานภาคีไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด           This research aims to analyze the role of the probation volunteer and probation networks relating to the offender rehabilitation. The study method is qualitative exercised by collecting data from various resources, reviewing related documents, in-depth interviewing probation officers, probation volunteers in the Southern border provinces of Thailand, focusing group on community justice network, rehabilitated offenders, released offenders, individuals with drug rehabilitation, and observing rehabilitation process in Sa Ba Yoi District, Songkhla.          The study shows that the rehabilitation patterns in the communities performed by the probation volunteers and the community justice networks constitute participations of the residents. The patterns are the religions discipline in temples, mosques and community service. When the offenders voluntarily perform the community services, some moreover voluntarily intent to exercise the occupational training with groups of agriculturalists. The probation volunteers and individuals who work in the community justice networks are with public mind, most importantly by time dedication. This very much decreases the duties of work of the probation offices. The works will mainly focus in the communities. In the Economic factor, however, some probation volunteers are lacking morale to work because of the additional monetary and working hours expenses. For the power of the probation volunteers, Even though there is the Ministry of Justice regulation on probation volunteer B.E. 2547 enforcing, the community justice networks and their partners are still no longer to be established legally. This research points the need to enact the law for the establishments, whether they are the government or non-government agencies.

Downloads