ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราระหว่างคู่สมรส
Keywords:
การข่มขืน, กระทำชำเราระหว่างคู่สมรส, ความยินยอม, คู่สมรสอายุต่ำกว่า 15 ปีAbstract
การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกข้อยกเว้นความรับผิดให้แก่สามีที่ข่มขืนกระทำชำเราภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมุ่งให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันและเพื่อเป็นการคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่ถูกกระทำให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และเพื่อแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศและขจัดความรุนแรงที่กระทำต่อผู้หญิง ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายดังกล่าวยังมีความบกพร่องบางประการซึ่งสมควรได้รับการแก้ไข ดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง ควรบัญญัตินิยาม “ความยินยอม” ที่จะทำให้ขาดองค์ประกอบความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 ให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ประการที่สอง ควรบัญญัติให้ขอบเขตคำว่า “คู่สมรส” ตามมาตรา 276 วรรคสี่ ให้หมายความรวมถึงคู่สมรสที่มิได้จดทะเบียนสมรสด้วยในลักษณะเดียวกันกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกลไกคุ้มครองบุคคลที่ถูกกระทำ ความรุนแรงในครอบครัวเช่นเดียวกันและประการที่สาม ในกรณีคู่สมรสเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 277 เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมาตรา 276 วรรคสี่ Amendment of the Penal Code by the Amendment Act, Criminal Code (No. 19), BE 2550 (2007), aims to remove the marital exemption of rape crime, to achieve gender equality and to provide protection for spousal rape victims. It also tackles gender discrimination and aims to eliminate violence against women. The Study found that there are some imperfections in this matter. Therefore it should be amended as follow: Firstly, Criminal Code, Section 276, should provide a clear written statement of what will be considered a consent that will result in the lack of a rape component. Secondly, similarly to the Act on the Protection of Victims of Domestic Violence, BE 2550 (2007) which is another mechanism to protect the victims of domestic violence, the scope of "spouse" under Section 276, paragraph four, shall include cohabiting couples as well. Finally, in case the spouse is a child, section 277 should be amended in order to be consistent with the fourth paragraph of Section 276.Downloads
Issue
Section
Articles