ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอกชน
Keywords:
กากของเสียอุตสาหกรรม, คุณภาพสิ่งแวดล้อม, การจัดการAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของบริษัทเอกชน ในประเด็นปัญหาการก่อตั้งบริษัทเอกชนในการเข้ามาก่อตั้งโรงงานกำจัดขยะมูลฝอย ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายจากพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เนื่องจากการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า การก่อตั้งบริษัทเอกชนในการเข้ามาก่อตั้งโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยต้องเป็นไปตามกฎหมายสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และข้อบัญญัติเทศบาล กล่าวคือ การก่อตั้งโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยของเอกชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้นพบว่าไม่มีหน่วยงานหรือบุคลากรที่มีความรู้ในด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาควบคุมตรวจสอบในเรื่องการออกใบอนุญาตซึ่งแตกต่างกับสาธารณรัฐเดนมาร์กที่หน่วยงานกระทรวงสิ่งแวดล้อมเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝอยอีกทั้งในกฎหมายญี่ปุ่นยังบัญญัติให้รัฐบาลกลาง จังหวัดและเทศบาลมีหน้าที่ในการจัดการป้องกันการกำจัดขยะมูลฝอยอีกด้วย ส่วนการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2535 การบังคับใช้กฎหมายในเรื่องบทลงโทษยังหย่อนสมรรถภาพในเรื่องบทลงโทษที่ต่ำ (และสามารถเปรียบเทียบปรับได้) เนื่องจากไม่มีการกำหนดโทษขั้นต่ำสำหรับการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมไว้และในส่วนความรับผิดของผู้แทน นิติบุคคลจากการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมการพระราชบัญญัติโรงงานไม่ได้มีการบัญญัติในเรื่องความรับผิดทางแพ่งไว้ให้ผู้แทนนิติบุคคลต้องรับผิดจากการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า ร่างกฎกระทรวงในการออกใบอนุญาตในการตั้งโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยของเอกชนการต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วมในการออกใบอนุญาต อีกทั้งเสนอเพิ่มโทษจากการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในมาตรา 45 โดยให้มีโทษขั้นต่ำและแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนความรับผิดทางแพ่งเกี่ยวข้องกับผู้แทนนิติบุคคลให้มีการเพิ่มเติมไว้ในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ด้วย This thesis has the purpose to manage the environmental quality of private companies in the problems of establishing of a private company to set up a waste disposal factory, problems of enforcement of the Law from the Factory Act of 1992 because there are problems of illegal dumping of industrial waste. According to the study, the researcher found that establishment of a private company to set up a waste disposal factory shall comply with the Public Health Law 1992 and the Municipal Provisions, that is, the establishment of a private waste disposal factory inside the sub-district administrative organization, shall receive a license from the local official only. The researcher found that there was no agency or personnel with environmental knowledge to control and inspect issuing of a license, which is different from that of Republic of Denmark, which the working unit, Ministry of Environment supports the operation of locality in managing of waste. In addition, Japanese law provides that the central government, prefectures and municipalities are responsible for managing of prevention of waste disposal. Illegal dumping of industrial waste according to the Factory Act, 1992, law enforcement on penalties also lacks capacity for low penalties and (such enforcement can be compared fine) because there are no minimum penalties for illegal industrial waste dumping and the liability of corporate representatives from illegal industrial waste dumping. The Factory Act does not provide for civil case liability so that corporate representatives shall be liable for illegal industrial waste dumping. From the study, the researcher recommended that in the draft of ministerial regulation on the issuance of licenses for the establishment of a private waste disposal factory, there shall be environmental personnel for participating in issuing of licenses. The researcher recommended to increase the penalty of illegal dumping of industrial waste in Section 45. There shall be minimum penalty and there shall be amendment to the civil case liability of the corporate representatives to be added to the Factory Act, 1992.Downloads
Issue
Section
Articles