การศึกษานวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ เพื่อการแข่งขันในประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา ประเทศสิงคโปร์

Authors

  • รวิภา ธรรมโชติ

Keywords:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์, HR, นวัตกรรมการสะสมทุนมนุษย์, การบูรณาการความร่วมมือ, การบริการสาธารณะ, องค์กรชุมชนวิชาชีพ, ชุมชนวิชาชีพเชิงกลยุทธ์

Abstract

          งานวิจัย เรื่อง การศึกษานวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ เพื่อการแข่งขันใน ประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา ประเทศสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของนวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐเพื่อการแข่งขัน กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์ 2) เพื่อศึกษา บริบทและเงื่อนไขของประเทศสิงคโปร์ต่อการเกิดนวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐเพื่อการแข่งขัน 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบนวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐเพื่อการแข่งขันให้กับประเทศ ต่าง ๆ ในกลุ่มประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาทิ เอกสารงานวิจัยของหน่วยงาน และข้อมูลจากเว็ปไซด์ ของหน่วยงาน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่ม ตัวอย่างของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากวิทยาลัยข้าราชการพลเรือน (Civil Service College: CSC) และ The Public Service Division (PSD) โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตรวจสอบ ข้อมูลแบบสามเส้า          ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะของนวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ประกอบไปด้วย การวางแนวทางการพัฒนา การศึกษา และการฝึกอบรม 2) บริบทและเงื่อนไขสำคัญของประเทศสิงคโปร์ที่มีต่อการเกิดนวัตกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักด้วยกันกล่าวคือ นโยบายของภาครัฐ ปัจจัยภายในองค์การ และปัจจัยภายนอกองค์กร และ 3) ตัวแบบนวัตกรรมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมอาเซียน “HIPPS” ซึ่งประกอบด้วย การสะสมทุนมนุษย์ การบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน นโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการบริการสาธารณะพัฒนาให้เกิดองค์กรชุมชนวิชาชีพ และการวางแผนองค์กรชุมชนวิชาชีพเชิงกลยุทธ์           The objectives of this research were 1) to study the characteristics of innovation and human resource management in Singapore’s public sector to improve its competitive ability in the ASEAN Economic Community, 2) to study the conditions and the context of Singapore with regard to innovations and human resources management in the public sector, and 3) to develop a model for innovative human resource management in the public sector to enable Singapore to compete with other countries in the ASEAN Community. The qualitative research approach is employed, based on documents and related research, which includes in depth interviews with a sample of government agencies, including the Civil Service College and the Public Service Division.          The results are summarized as follows: 1) the characteristics and means of promoting innovation and human resource management consist of development planning, education and training, 2) the context and crucial conditions of Singapore towards human resource management innovation creation involve three key factors: the policy of the government, internal organization factors, and external factors, and 3) the innovation and human resource management model for competition in the ASEAN Community, which is known as “HIPPS” consists of the accumulation of human capital, integrating cooperation of all sectors, the government's policy to promote public service, developing a community-based organization, corporate planning, and having a strategic professional community.

Downloads