การจัดเหตุการณ์พิเศษรูปแบบใหม่ในการประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา

Authors

  • ศิริญญา วิรุณราช

Keywords:

การจัดเหตุการณ์พิเศษ, การประชาสัมพันธ์, การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา

Abstract

          การวิจัยเรื่อง “การจัดเหตุการณ์พิเศษรูปแบบใหม่ในการประชาสัมพันธ์ การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาต่อการจัดกิจกรรมเหตุการณ์พิเศษ 2) เพื่อหารูปแบบการจัดกิจกรรมเหตุการณ์พิเศษรูปแบบใหม่ในการประชาสัมพันธ์ การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาต่อการจัดกิจกรรมเหตุการณ์พิเศษจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยการเก็บข้อมูลกับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกที่ศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2559 โดยใช้โปรแกรม G*power กำหนดการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา , ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, และพิสูจน์สมมติฐานโดยใช้ ANOVA F-test โดยมีตัวแปรอิสระคือ ประเภทของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีระดับของตัวแปรแยกออกเป็น 3 กลุ่ม กำหนดค่า effect size เท่ากับ 0.25 (อิทธิพลระดับปานกลาง) ค่าความคลาดเคลื่อน (alpha เท่ากับ 0.05) และค่าอำนาจการทดสอบ power เท่ากับ 0.80 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 159 คน (Faul, Erdfelder, Lang & Buchner, 2007)          จากผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดกิจกรรมพิเศษ กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการเปิดให้เยี่ยมหน่วยงานสถาบันการศึกษามากที่สุด 2. ในการจัดกิจกรรมเปิดให้เยี่ยมหน่วยงานสถาบันการศึกษา ควรมีกิจกรรมบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการสอน และมีสาธิตการเรียนให้ดูด้วยของนักศึกษา และ 3. ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ความสนใจต่อการเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษาในเรื่องของอายุและประเภทของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน          Organizing new special events in public relations for Continuing in Graduate study have Objective are 1) To study the level of opinion of postgraduate students on special activities. 2) To study postgraduate students' participation in special events; Criteria and conditions. 3) To find the format of activities. A random sampling was used to collect data for the graduate students of the university in the eastern in the academic year 2016. Using the G * power program, the data were analyzed using ANOVA. (Alpha equals 0.05) and test power was 0.80. 159 subjects (Faul, Erdfelder, Lang & Buchner, 2007) for non-responders.          Special events organized in the form of open-air exhibitions. Open House institutions are the activities that the sample agreed. Topics in teaching or modeling in real teaching, so that those who are interested in experiencing the atmosphere and content of this kind of learning must be. Exhibitions and Exhibitions (Booths, Exhibitions, Exhibitions) Exhibitions that deal with conferences with exhibitions are organized as temporary exhibitions. Content related to daily exercise and daily exercise. Out of sight, people who attend this event need to have a media attendance at the party. Please refer to the next course.

Downloads