โปรแกรมการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องของนักศึกษาอาชีวเกษตร

Authors

  • ยิ่งศักดิ์ ไกรพินิจ
  • ธีระวัฒน์ จันทึก
  • พิทักษ์ ศิริวงศ์

Keywords:

แนวคิดทางปัญญา, ผู้ประกอบการ, อาชีวเกษตร

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องและศึกษารูปแบบการสร้างทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องของนักศึกษาอาชีวเกษตร ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบความเหมาะสมของทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคตภาพ (EDFR) โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน และขั้นตอนที่ 2 การจัดทำรายละเอียดโปรแกรมการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องของนักศึกษาอาชีวเกษตร โดยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม PAR (Participatory Action Research) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับครูผู้เชี่ยวชาญในการสอนอาชีวเกษตรและธุรกิจเกษตร          ผลการวิจัยพบว่า ทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องประกอบด้วย 10 ทักษะ (R WIT TEAM 2C) ได้แก่ ทักษะการจัดการ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการประสานงาน ทักษะความไว้วางใจ ทักษะผู้นำความคิด ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านสุขภาวะ ทักษะความรับผิดชอบ การเสริมสร้างพลังอำนาจและความกล้าเสี่ยง โดยทักษะของผู้ประกอบเกษตรปราดเปรื่องที่มีเพิ่มเติมจากผู้ประกอบการเกษตรทั่วไปคือ ทักษะผู้นำความคิด และการเสริมสร้างพลังอำนาจ ซึ่งโปรแกรมการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราดเปรื่องพัฒนามาจากแนวคิดทางปัญญา (Cognitive thinking approach) มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1) การกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า (Stimulus) 2) การแปลงสัญญาณ (Transduction) 3) การรับรู้ (Perception) และ 4) การเรียนรู้จำ (Recognition)           The objectives of this study were to investigate the smart farmer entrepreneurial skills and to find the model of farmer entrepreneurial skills of student agribusiness.          The researcher planned this study into two steps: 1) to study the component of the smart farmer entrepreneurial skills from documents and related researches and examine suitability of the smart farmer entrepreneurial skills by Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) through interview of 19 experts; 2) to create the smart agripreneurship skills development program for agribusiness students by Participatory Action Research (PAR) and Focus Group, in cooperation with Chiang Mai College of Agriculture and Technology teachers.          The research found that there were 10 skills (R WIT TEAM 2C) in agribusiness skill namely, Management skill, Creative thinking skill, Coordination skill, Trust skill, Thought lradership skill, Information technology skill, Well being, Accountability, Empowerment and Risk taking. The additional skills that the smart agripreneurship has more than a general farmer are Thought leadership skill and Empowerment. The smart agribusiness skill enhancement program developed form the concept of cognitive thinking approach. The important elements of the concept were Stimulus, Transduction, Perception and Recognition.

Downloads